บทมุสาวาจามิชอบ
วาจามิชอบ เป็นจุดเริ่มต้นของความผิดบาป อื่นๆ
การบรรยายธรรม ปาถกฐา ฯ จะต้องมีสาระในทาง
เสริมสร้าง จึงจะนับว่าเป็นนักพูดที่ได้รับความสำเร็จ
คนค้าขายจะไม่ให้ผิดข้อมุสานั้นยาก ทางที่ดีเมื่อ
ค้าขายได้เงินทองของเขามาแล้ว แบ่งปันส่วนหนึ่งไป
ทำบุญทานอุทิศให้เขา และชดเชยความผิดของตนเสีย
แต่ช่วยพูดจาส่งเสริมญาติธรรม จะต้องติดตาม
ผล ให้วิเคราะห์ความทุกข์ของเขาจากความเป็นจริง
อย่าพูดให้เขาหลับหูหลับตามารับธรรมะ อย่าเหมาว่า
รับธรรมะแล้วจะหายจากโรคภัยนั้น ๆ หรือกินเจตลอด
ชีวิตแล้วตั้งตำหนักพระจะหายจากโรคมะเร็งได้
จงส่งเสริมให้เขาเข้าใจหลักสัจธรรมด้วย มีกำลัง
ความสามารถเท่าไรก็พูดไปเท่านั้น ไม่พูดเกินกำลัง
ความเป็นจริง มีคำกล่าวว่า “พูดปดไปเพียงคำเดียวจะ
ต้องหาคำโกหกมาปิดบังคำพูดนั้นอีกถึงสิบคำ” พูดปด
บ่อย ๆ จะกลายเป็นความเคยชิน “วาจามิชอบเป็น
อาวุธฆ่าคนได้อย่างเลือดเย็น” “อย่าเที่ยวได้ปากยื่น
ปากยาวไปบ้านเหนือบ้านใต้”
พูดเพ้อเจ้อถือเป็นวาจามิชอบ แต่ถ้าพูดแบบ
อารมณ์ขันทำให้ผู้อื่นคลายทุกข์ได้ไม่ผิด เขายกย่องชม
เชย ซึ่งแม้เจ้าจะดีอย่างที่เขาชื่นชมจริง แต่เจ้าก็ปฏิเสธ
คำชมด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน ว่าไม่จริงอย่างนี้ไม่ผิด
ทุกคนชอบฟังคำพูดที่ทำให้สบายใจ วาจาดีเป็นสะพาน
เชื่อมบุญสัมพันธ์
ถามทุกข์สุข แนะนำปลอบโยน ชื่นชมให้กำลังใจ
ชาติก่อนชอบนินทาว่าร้าย ชาตินี้จะถูกทำลายชื่อเสียง
มีอุปสรรคถูกขัดขวางถูกด่าว่า พูดจาไม่มีใครรับฟังน้ำ
เสียงไม่ไพเราะ อ้ำอึ้งพูดกำกวมไม่ชัดเจนฯ ผู้ผิดศีลข้อ
มุสาใช้วาจามิชอบ จะบำพ็ญอย่างไร ก็ไม่ได้สัมโพธิผล
ศีลห้าไม่บริสุทธิ์ บกพร่องข้อใดก็ตาม จะไม่อาจ
บรรลุสัมโพธิมรรคทั้งสิ้น ผู้ผิดศีลข้อมุสาใช้วาจามิชอบ
กลิ่นปากจะเหม็นเป็นประจำรักษาไม่หาย กลิ่นตัวแรง
ยิ่งกินเนื้อสัตว์จะยิ่งกลิ่นตัวแรง กินเจจะทำให้คลายลง
ผู้สำรวมรักษาศีล ใช้วาจาชอบ ปากจะมีกลิ่นหอม
เหมือนดอกอุบลวรรณ ศพของผู้บำเพ็ญบางคนถูเผา
แล้ว ฟันยังคงอยู่ไม่ถูกเผาไหม้ทั้งสามสิบสองซี่ก็มี ผู้ใช้
วาจาชอบจะเป็นที่เชื่อถือยินดีแก่คนทั้งหลาย ไม่ต้องมี
สิ่งซ่อนเร้น จะไม่มีเสียงหยาบคายรบกวนหู รบกวนใจ
พูดเกินความเป็นจริงบางอย่าง ด้วยเจตนาดี
เพื่อฉุดช่วยนำพาเขาให้พ้นทุกข์ ไม่ถือเป็นวาจามิชอบ
“กวนใจ ทำลายสติ ให้เขาคิดมากลำบากใจ” “ทำลาย
สายสัมพันธ์ให้เขาแหนงหน่ายไม่ลงรอยกัน” “หยอกล้อ
ล่วงเกินให้เขาอับอายเกิดปมด้อย” ฯลฯ เหล่านี้ล้วน
ผิดศีลมุสาใช้วาจามิชอบ มีเกร็ดประวัติเรื่องหนึ่ง ซึ่ง
ท่านบรมครูขงจื้อถือเป็นอุทาหรณ์สอนใจศิษย์ ทันที
เมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นคือ เช้าวันหนึ่งศิษย์คนหนึ่งอยู่เวร
ทำอาหาร ข้าวต้มสุกแล้ว บังเอิญเศษอะไรชิ้นเล็กๆ
ตกจากเพดานลงไปในข้าวต้ม ศิษย์ผู้นั้นกลัวจะเป็นอัน
ตรายแก่ท่านบรมครู จึงตักเศษอะไรนั้นใส่ปากเพื่อ
พิสูจน์ว่ามันคืออะไร
ท่านบรมครูชี้ให้ศิษย์อีกคนหนึ่งดู ศิษย์ผู้นั้นลุก
ขึ้นตรงเข้าไปว่ากล่าวติเตือนเพื่อนทันทีว่า “เสียมรร
ยาทเองกินอาหารก่อนท่านครู” ศิษย์ผู้ถูกกล่าวหาร้อง
ปฏิเสธรีบชี้แจงความเป็นจริงด้วยความตกใจ ท่านบรม
ครูจึงเรียกชุมนุมศิษย์ทั้งหมดแล้วให้คติว่า “สิ่งที่ครูมอง
เห็นเองยังผิดต่อความเป็นจริงได้ แล้วยิ่งเป็นเรื่องที่เล่า
ต่อกันมาล่ะ จากปากที่สามต่อไปความเป็นจริงจะถูก
บิดเบือนไปอีกเท่าไร...”
ฉะนั้น ก่อนจะสรุปความว่ากล่าวติเตียนใคร จึง
ให้ระวังคำมุสาวาจามิชอบ “ไม่อยากมีเรื่องกล่าวหาว่า
ร้ายให้สงบปากสงบคำอย่าพร่ำพูด” อย่าพูดเอาแต่ได้
อย่าปักหลักพูดแต่ฝ่ายตัวเอง ให้ยืนอยู่เป็นฝ่ายเขา
เห็นใจเขา ให้โอกาสเขาพูดเพื่อคนอื่นบ้าง ความบาด
หมางจากวาจาจะน้อยลง
มีคนสองระดับที่ไม่นินทาว่าร้าย คือ ผู้มีปัญญา
ระดับสูง และคนโง่ทึ่มที่สุด ปัญญาสูงเห็นสัจธรรมไม่
หวั่นไหวในเสียงรบกวน คนโง่ทึ่มไม่เข้าใจในเสียงรบ
กวน คนสองระดับนี้จึงบำเพ็ญศีลข้อนี้ได้ดี
จะพูดจานำพาคนมารับธรรมะ อย่าให้เขาเข้าใจ
ผิดว่าเจ้ามีความพึงพอใจในตัวเขา ต้องเอาความเมตตา
เป็นเจตนา อย่าเอาอารมณ์ ความรู้สึกพิสมัยเป็นเจตนา
ญาติธรรมหนุ่มสาวต้องระวังเรื่องนี้ให้มาก อาชีพหมอ
ดูทำนายทายทักดวงชะตาอาชีพดูทำเลที่ทาง (ฮวงจุ้ย)
ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษาฯ ยิ่งต้องระวังวาจา
พูดผิดพลาดพลั้งไปทำร้ายจิตใจ ทำลายชีวิต
อนาคตเขา จะบาปมาก ผู้ไม่ผิดศีลมุสาไม่ใช้วาจามิชอบ
ผู้ได้สำรวมปากคำมาสามชาติ ชาตินี้ปลายลิ้น จะแตะ
ถึงจมูก ลิ้นมีสีแดงดังชาดทาไว้ ริมฝีปากอิ่มเกิดเป็นหญิง
ซี่ฟันจะกว้างหนา เป็นศรีภรรยาเป็นศรีสะใภ้
แต่หากหญิงใดฟันห่าง ลมปากผ่านช่องฟันได้เป็น
คนจับจ่ายไม่ยั้งเก็บเงินไม่อยู่ ฟันซี่เรียวเล็กเหมือนฟัน
หนูเป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้นเจ้าเล่ห์เจ้ากล หญิงใดสุ้มเสียง
อ่อนโยนนุ่มทุ้ม มีบุญวาสนาสูงส่ง ลักษณะภายนอก
เหล่านี้เป็นเครื่องประกอบให้เจ้ารู้ไว้พิจารณาตัวเอง
บกพร่องส่วนใด ก็ให้แก้ไขด้วยการปฏิบัติบำเพ็ญ
ในที่สุดลักษณะด้อยของเจ้า ก็จะกลายเป็นลักษณะดีได้
พวกเจ้าเพ้อเจ้อ มุสา ใช้วาจามิชอบกันวันละมากมาย
พอๆ กับกินข้าวใช่ไหม นี่แหละจะทำให้การปฏบัติบำ
เพ็ญของเจ้าถูกก่อกวน แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยเหมือน
กับน้ำข้าวต้มใสๆ ดูเหมือนกับไม่ได้ผิดอะไร แต่ก็ทำให้
เจ้าสะดุดได้ สำรวมในศีลอย่างแท้จริง จึงเป็นการ
บำเพ็ญอย่างแท้จริง
ผู้ได้รับวิถีธรรม แล้วไม่ถือศีลจะเป็นเพียงผู้มี
บุญสัมพันธุ์ที่ผ่านเข้ามาในประตูพุทธะเท่านั้น ถือศีล
ได้บริสุทธิ์ หนึ่งศีลมีหนึ่งเทพยดาคุ้มครองรักษา ไม่
สำรวมในศีล สิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพยดาไม่กล้าเข้าใกล้ อีกทั้ง
ไม่อาจปกปักรักษา ถือศีลสำรวมวาจา จะเกิดปัญญามี
วาทะศิลป์มีสง่าราศีลักษณะดีงาม
คัดลอก จาก บำเพ็ญขัดเกลาพุทธจิต
@@@ ระหว่าง "รู้" กับ "ทำ" นั้น
ช่างห่างไกลกันเสียเหลือเกิน @@@
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น