องค์เทพ ตั่วเหล่าเอี๊ย ..ศาลเจ้าพ่อเสือ (เสาชิงช้า) ..ภาพถ่าย วันที่ 8 มกราคม 2568

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

โลหะบำบัด (การใส่แหวน)

โลหะบำบัด (การใส่แหวน)

นิ้วโป้ง
1.  ใส่แหวนเงิน  ช่วยให้ปอดแข็งแรง  หายใจเต็มอิ่ม  ดูดสารพิษที่ปอด
2.  ใ่ส่แหวนทอง  ช่วยลำไส้ใหญ่ให้ขับถ่ายสะดวก

นิ้วชี้
1.  ใส่แหวนเงิน  ช่วยลดความอ้วน  แก้เกาต์  เบาหวาน  น้ำเหลืองเสีย ขจัดพิษที่ม้าม
2.  ใส่แหวนทอง  ช่วยให้กระเพาะอาหารแข็งแรง  กันปวดเข่า

นิ้วกลาง
1.  ใส่แหวนเงิน  ช่วยกรองเลือดผ่านหัวใจให้สะอาด  กันหัวใจวาย
2.  ใส่แหวนทอง  ปรับความร้อนในร่างกาย  แก้ปัสสาวะบ่อย

นิ้วนาง
1.  ใส่แหวนเงิน  ช่วยล้างไขมัน  ล้างสารพิษในตับ
2.  ใส่แหวนทอง  แก้ไมเกรน  แก้นอนไม่หลับ

นิ้วก้อย
1.  ใส่แหวนเงิน  ช่วยชำระไต  ขจัดสารพิษที่ไต  มือซ้ายหรือขวาก็ได้ สองข้างก็ได้
2.  ใส่แหนวนทอง  ช่วยดูแลเรือง  กระเพาะปัสสาวะ  มดลูก  รังไข่  ปีกมดลูก  อัณฑะ  ไส้เลื่อน

     การใส่แหวนเป็นการใช้โลหะบำบัด  ช่วยได้เล็กน้อย  ควรดูแลเรื่องอาหารการกิน  เป็นเรื่องหลักจะดีที่สุด  โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้า  และออกกำลังกายใ้ห้สม่ำเสมอ



โลหะบำบัด (การใส่แหวน)

โลหะบำบัด (การใส่แหวน)

นิ้วโป้ง
1.  ใส่แหวนเงิน  ช่วยให้ปอดแข็งแรง  หายใจเต็มอิ่ม  ดูดสารพิษที่ปอด
2.  ใ่ส่แหวนทอง  ช่วยลำไส้ใหญ่ให้ขับถ่ายสะดวก

นิ้วชี้
1.  ใส่แหวนเงิน  ช่วยลดความอ้วน  แก้เกาต์  เบาหวาน  น้ำเหลืองเสีย ขจัดพิษที่ม้าม
2.  ใส่แหวนทอง  ช่วยให้กระเพาะอาหารแข็งแรง  กันปวดเข่า

นิ้วกลาง
1.  ใส่แหวนเงิน  ช่วยกรองเลือดผ่านหัวใจให้สะอาด  กันหัวใจวาย
2.  ใส่แหวนทอง  ปรับความร้อนในร่างกาย  แก้ปัสสาวะบ่อย

นิ้วนาง
1.  ใส่แหวนเงิน  ช่วยล้างไขมัน  ล้างสารพิษในตับ
2.  ใส่แหวนทอง  แก้ไมเกรน  แก้นอนไม่หลับ

นิ้วก้อย
1.  ใส่แหวนเงิน  ช่วยชำระไต  ขจัดสารพิษที่ไต  มือซ้ายหรือขวาก็ได้ สองข้างก็ได้
2.  ใส่แหนวนทอง  ช่วยดูแลเรือง  กระเพาะปัสสาวะ  มดลูก  รังไข่  ปีกมดลูก  อัณฑะ  ไส้เลื่อน

     การใส่แหวนเป็นการใช้โลหะบำบัด  ช่วยได้เล็กน้อย  ควรดูแลเรื่องอาหารการกิน  เป็นเรื่องหลักจะดีที่สุด  โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้า  และออกกำลังกายใ้ห้สม่ำเสมอ



วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่าย ๆ โดย (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง

          วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่าย ๆ โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี

วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่าย ๆ

          มีท่านพุทธศาสนิกชนมากท่านได้มีจดหมายมาขอวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบง่ายๆ เพื่อฝึก ด้วยตนเอง อาตมาจึงเขียนวิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองขึ้นเป็นแบบฝึกในหมวด สุกขวิปัสสโก คือฝึกแบบง่ายๆ ขอให้ท่านผู้สนใจปฏิบัติตามนี้

                                     สมาธิ

          อันดับแรก ขอให้ท่านผู้สนใจจงเข้าใจคำว่าสมาธิก่อนสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่น หมายถึง การตั้งใจแบบเอาจริงเอาจังนั่นเอง ตามภาษาพูดเรียกว่า เอาจริงเอาจัง คือ ตั้งใจว่าจะทำอย่างไร ก็ทำอย่างนั้นอย่างเคร่งครัด ไม่เลิกล้มความตั้งใจ

 อารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ

         สำหรับอารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ ท่านต้องเข้าใจเสียก่อนว่า เวลานั้นต้องการอารมณ์ สบาย ไม่ใช่อารมณ์เครียด เมื่อมีอารมณ์เป็นสุขถือว่าใช้ได้ อารมณ์เป็นสุขไม่ใช่อารมณ์ดับสนิท จนไม่อะไร เป็นอารมณ์ธรรมดาแต่มีความสบายเท่านั้นเอง ยังมีความรู้สึกตามปกติทุกอย่าง

เริ่มทำสมาธิ

         เริ่มทำสมาธิใช้วิธีง่าย ๆ ไม่ต้องมีพิธีรีตองมาก ใช้ธูปเทียนเท่าที่มีบูชาพระ ใช้เครื่องแต่งกายตามที่ท่านแต่งอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องแต่งตัวสีขาว ฯลฯ เป็นต้น เพราะไม่สาคัญที่เครื่องแต่งตัว ความสำคัญจริง ๆ อยู่ที่ใจ ให้คุมอารมณ์ใจให้อยู่ตามที่เรา ต้องการก็ใช้ได้

อาการนั่ง 
         อาการนั่ง ถ้าอยู่ที่บ้านของท่านตามลาพัง ท่านจะนั่งอย่างไรก็ได้ตามสบาย จะนั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้ หรือ นอน ยืน เดิน ตามแต่ท่านจะสบาย ทั้งนี้หมายถึงหลังจากที่ท่าน บูชาพระแล้ว เสร็จแล้วก็เริ่มกำหนดรู้ลมหายใจเข้า และหายใจออก คำว่า กำหนดรู้ คือหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ ถ้าต้องการให้ดีมาก ก็ให้สังเกตด้วยว่าหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น ขณะที่รู้ลมหายใจนี้ และเวลานั้นจิตใจไม่คิดถึงเรื่องอื่นๆ เข้าแทรกแซง ก็ถือว่าท่านมีสมาธิแล้ว การทรงอารมณ์รู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก โดยที่อารมณ์อื่นไม่แทรกแซง คือไม่คิดเรื่องอื่นในเวลา นั้น จะมีเวลามากหรือน้อยก็ตาม ชื่อว่าท่านมีสมาธิแล้ว คือตั้งใจรู้ลมหายใจโดยเฉพาะ 

 ภาวนา

          การเจริญกรรมฐานโดยทั่วไปนิยมใช้คำภาวนาด้วย เรื่องคำภาวนานี้อาตมาไม่จำกัดว่า ต้องภาวนาอย่างไร เพราะแต่ละคนมีอารมณ์ไม่เหมือนกัน บางท่านนิยมภาวนาด้วยถ้อยคำ สั้น ๆ บางท่านนิยมใช้คำภาวนายาว ๆ ทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่ท่านจะพอใจ อาตมาจะแนะนำคำภาวนา อย่างง่ายคือ "พุทโธ" คาภาวนาบทนี้ ง่าย สั้น เหมาะแก่ผู้ฝึกใหม่ มีอานุภาพและมีอานิสงส์มาก เพราะเป็นพระนามของพระพุทธเจ้า การนึกถึงชื่อของพระพุทธเจ้าเฉย ๆ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ในเรื่อง มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ว่าคนที่นึกถึงชื่อท่านอย่างเดียว ตายไปเกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้าบนสวรรค์ไม่ใช่นับร้อยนับพัน พระองค์ตรัสว่านับเป็นโกฏิ ๆ เรื่องนี้จะนำมาเล่า ข้างหน้าเมื่อถึงวาระนั้น 

          เมื่อภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจจงทำดังนี้ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออก นึกว่า "โธ" ภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจตามนี้เรื่อย ๆ ไปตามสบาย ถ้าอารมณ์ใจสบายก็ภาวนา เรื่อย ๆ ไป แต่ถ้าเกิดอารมณ์ใจหงุดหงิดหรือฟุ้งจนตั้งอารมณ์ไม่อยู่ก็จงเลิกเสีย จะเลิกเฉย ๆ หรือดูโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุหรือหาเพื่อนคุยให้อารมณ์สบายก็ได้ (เพื่อเป็นการผ่อนคลาย อารมณ์) อย่ากำหนดเวลาตายตัวว่าต้องนั่งให้ครบเวลาเท่านั้นเท่านี้แล้วจึงจะเลิก ถ้ากำหนด อย่างนั้นเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านขึ้นมาจะเลิกก็เกรงว่าจะเสียสัจจะที่กำหนดไว้ ใจก็เพิ่มการฟุ้งซ่าน มากขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อย ๆ ก็จะเกิดเป็นโรคประสาทหรือเป็นโรคบ้า ขอทุกท่านจงอย่าทนทำ อย่างนั้น

ขณิกสมาธิ

          อารมณ์ที่ทรงสมาธิระยะแรกนี้จะทรงไม่ได้นาน เพราะเพิ่งเริ่มใหม่ ท่านเรียก สมาธิระยะนี้ว่า ขณิกสมาธิ คือสมาธิเล็กน้อย ความจริงสมาธิถึงแม้ว่าจะทรงอารมณ์ไม่ได้ นานก็มีอานิสงส์มาก

ฝึกทรงอารมณ์

          อารมณ์ทรงสมาธิ ถึงแม้ว่าจะทรงไม่ได้นานแต่ท่านทำด้วยความเคารพก็มีผลมหาศาล แต่ถ้ารักษาอารมณ์ได้นานกว่า มีสมาธิดีกว่าจะมีผลมากกว่านั้นมาก การฝึกทรงอารมณ์ให้อยู่ นาน หรือที่เรียกว่ามีสมาธินานนั้น ในขั้นแรกให้ทำดังนี้ 

          ให้ท่านภาวนาควบกับรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้านึกว่า"พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" ดังนี้ นับเป็นหนึ่ง นับอย่างนี้สิบครั้งโดยตั้งใจว่าในขณะที่ภาวนาและรู้ลมเข้าลมออกอย่างนี้ ในระยะสิบครั้งนี้เราไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรก คือไม่ยอมคิดอย่างอื่นจะประคองใจให้อยู่ ในคำภาวนา และรู้ลมเข้าลมออกทำครั้งละสิบเพียงเท่านี้ ไม่ช้าสมาธิของท่านจะทรงตัวอยู่อย่าง น้อยสิบนาทีหรือถึงครึ่งชั่วโมง จะเป็นอารมณ์ที่เงียบสงัดมากอารมณ์จะสบายจงพยายามทำ อย่างนี้เสมอๆ ทางที่ดีทำแบบนี้เมื่อเวลานอนก่อนหลับและตื่นใหม่ๆ จะดีมากบังคับอารมณ์ เพียงสิบเท่านั้นพอใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนจะสามารถทรงอารมณ์เป็นฌานได้เป็นอย่างดี 

อย่าฝืนอารมณ์มากนัก

           เรื่องของอารมณ์เป็นของไม่แน่นอนนัก ในกาลบางคราวเราสามารถควบคุมได้ตาม ที่เราต้องการ แต่ในกาลบางคราวเราก็ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะกระสับกระส่ายเสียจนคุม ไม่อยู่ ในตอนนั้นควรจะยอมแพ้มัน เพราะถ้าขืนต่อสู้จะเกิดอารมณ์หงุดหงิดหรือเครียดเกินไป ในที่สุดถ้าฝืนเสมอๆ แบบนั้นอารมณ์จะกลุ้ม สมาธิจะไม่เกิด สิ่งที่จะเกิดแทนก็คือ อารมณ์ กลุ้ม เมื่อปล่อยให้กลุ้มบ่อย ๆ ก็อาจจะเป็นโรคประสาทได้

           ข้อที่ควรระวังก็คือ ทำแบบการนับดังกล่าวแล้วนั้น สามารถทำได้ถึงสิบครั้ง หรือบางครั้ง ทำได้เกินสิบก็ทำเรื่อย ๆ ไป ถ้าภาวนาไปไม่ถึงสิบอารมณ์เกิดรวนเรกระสับกระส่าย ให้หยุดพัก ประเดี๋ยวหนึ่งแล้วทำใหม่ สังเกตดูอารมณ์ว่าจะสามารถควบคุมภาวนาไปได้ไหม ถ้าสามารถ ควบคุมให้อยู่ภายในขอบเขตของภาวนาได้ และรู้ลมหายใจเข้าออกควบคู่กันไปได้ดีก็ทำเรื่อยๆ ไป แต่ถ้าควบคุมไม่ไหวจริง ๆ ให้พักเสียก่อน จนกว่าใจจะสบายแล้วจึงทำใหม่หรือเลิกไปเลย วันนั้นพัก ไม่ต้องทำเลยปล่อยอารมณ์ให้รื่นเริงไปกับการคุย หรือชมโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุ หรือ หลับไปเลยเพื่อให้ใจสบายให้ถือว่าทำได้เท่าไรพอใจเท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้ไม่ช้าจะเข้าถึงจุดดี คือ อารมณ์ฌาน

           คำว่า ฌาน คือ อารมณ์ชิน ได้แก่ เมื่อต้องการจะรู้ลมหายใจเข้าออกเมื่อไร อารมณ์ ทรงตัวทันที ไม่ต้องเสียเวลาตั้งท่าตั้งทางเลย ภาวนาเมื่อไรใจสบายเมื่อนั้น แต่ทว่าอารมณ์ฌาน- โลกีย์ที่ทำได้นั้น เอาแน่นอนไม่ได้ เมื่อร่างกายปกติ ไม่เหนื่อย ไม่เพลีย ไม่ป่วยมันก็สามารถคุม อาการภาวนา หรือรู้ลมหายใจเข้าออกได้สบาย ไม่มีอารมณ์ขวาง แต่ถ้าร่างกายบกพร่องนิดเดียว เราก็ไม่สามารถคุมให้อยู่ตามที่เราต้องการได้

           ฉะนั้น ถ้าหลงระเริงเล่นแต่อารมณ์สมาธิอย่างเดียว จะคิดว่าเราตายคราวนี้หวังได้สวรรค์ , พรหมโลก นิพพานนั้น (เอาแน่นอนไม่ได้) เพราะถ้าก่อนตายมีทุกขเวทนามาก จิตอาจจะทรง อารมณ์ไม่อยู่ ถ้าจิตเศร้าหมองขุ่นมัวเมื่อก่อนตาย อาจจะไปอบายภูมิ คือ นรก,เปรต,อสุรกาย, สัตว์เดียรัจฉานได้ ถ้าหลงทำเฉพาะสมาธิ ไม่หาทางเอาธรรมะอย่างอื่นเข้าประคับประคอง ถ้า เมื่อเวลาตายเกิดมีอารมณ์เศร้าหมองเข้าครองใจ สมาธิก็ไม่สามารถช่วยได้ จึงต้องใช้ธรรมะ อย่างอื่นเข้าประคองใจด้วยธรรมะที่ช่วยประคองใจให้เกิดความมั่นคงไม่ต้องลงอบายภูมิมีนรก เป็นต้นก็ได้แก่ กรรมบถ ๑๐ ประการ คือ 

กรรมบถ ๑๐ ประการ

๑. ไม่ฆ่าสัตว์ หรือไม่ทรมานสัตว์ให้ได้รับความลาบาก 
๒. ไม่ลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เขาไม่ให้ด้วยความเต็มใจ 
๓. ไม่ทำชู้ในบุตรภรรยาและสามีของผู้อื่น (ขอแถมนิดหนึ่ง ไม่ดื่มสุราและเมรัยที่ทาให้มึนเมาไร้สติ) 
๔. ไม่พูดจาที่ไม่ตรงความเป็นจริง 
๕. ไม่พูดวาจาหยาบคายให้สะเทือนใจผู้รับฟัง 
๖. ไม่พูดส่อเสียดยุให้รำตำให้รั่ว ทำให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน 
๗. ไม่พูดจาเพ้อเจ้อเหลวไหล 
๘. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของเขาไม่ยกให้ 
๙. ไม่คิดประทุษร้ายใคร คือไม่จองล้างจองผลาญเพื่อทาร้ายใคร 
๑๐. เชื่อพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านด้วยดี

อานิสงส์กรรมบถ ๑๐

            ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ท่านเรียกชื่อเป็นกรรมฐานกองหนึ่งเหมือนกัน คือ ท่านเรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน หมายความว่าเป็นผู้ทรงสมาธิในศีล

ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการได้นั้น มีอานิสงส์ดังนี้

๑. อานิสงส์ข้อที่หนึ่ง จะเกิดเป็นคนรูปสวย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีอายุยืนยาว ไม่อายุ สั้นพลันตาย 

๒. อานิสงส์ข้อที่สอง เกิดเป็นคนมีทรัพย์มาก ทรัพย์ไม่ถูกทำลายเพราะโจร , ไฟไหม้ , น้ำท่วม , ลมพัด จะมีทรัพย์สมบัติสมบูรณ์บริบูรณ์ขั้นมหาเศรษฐี 

๓. อานิสงส์ข้อที่สาม เมื่อเกิดเป็นคนจะมีคนที่อยู่ในบังคับบัญชาเป็นคนดี , ไม่ดื้อด้าน อยู่ภายในคำสั่งอย่างเคร่งครัด มีความสุขเพราะบริวาร และการไม่ดื่มสุราเมรัยเมื่อเกิด เป็นคนจะไม่มีโรคปวดศีรษะที่ร้ายแรง, ไม่เป็นโรค เส้นประสาท, ไม่เป็นคนบ้าคลั่ง จะเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์, มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เรื่องของวาจา 

๔. อานิสงส์ข้อที่สี่, ข้อห้า, ข้อหก และข้อเจ็ด เมื่อเกิดเป็นคน จะเป็นคนปากหอม หรือมีเสียงทิพย์ คนที่ได้ยินเสียงท่านพูด เขาจะไม่อิ่มไม่เบื่อในเสียงของท่าน ถ้าเรียกตามสมัย ปัจจุบัน จะเรียกว่าคนมีเสียงเป็นเสน่ห์ก็คงไม่ผิด จะมีความเป็นอยู่ที่เป็นสุข และทรัพย์สินมหาศาลเพราะเสียง เรื่องของใจ

๕. อานิสงส์ข้อที่แปด ,ข้อเก้า และข้อสิบ เป็นเรื่องของใจ คืออารมณ์คิด ถ้าเว้นจาก การคิดลักขโมย เป็นต้น ไม่คิดจองล้างจองผลาญใคร, เชื่อพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตามคำสอน ของท่านด้วยความเคารพ, ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ จะเป็นคนมีอารมณ์สงบ, มีความสุขสบายทางใจ ความเดือดเนื้อร้อนใจในกรณีใดๆ ทุกประการจะไม่มีเลย มีแต่ความสุขใจอย่างเดียว

 แนะวิธีรักษากรรมบถ ๑๐ ประการ
การที่จะทรงความดีเต็มระดับตามที่กล่าวมาให้ครบถ้วน ให้ปฏิบัติดังนี้ 

     ๑. คิดถึงความตาย ไว้ในขณะที่สมควร คือไม่ใช่ทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อตื่นขึ้นใหม่ ๆ อารมณ์ใจยังเป็นสุข ก่อนที่จะเจริญภาวนาอย่างอื่น ให้คิดถึงความตายก่อน คิดว่าความตายอาจ จะเข้ามาถึงเราในวันนี้ก็ได้ จะตายเมื่อไรก็ตามเราไม่ขอลงอบายภูมิ ที่เราจะไปคือ อย่างต่าไป สวรรค์ , อย่างกลางไปพรหม ถ้าไม่เกินวิสัยแล้วขอไปนิพพานแห่งเดียว คิดว่าไปนิพพานเป็นที่ พอใจที่สุดของเรา 

     ๒. คิดต่อไปว่า เมื่อความตายจะเข้ามาถึงเราจะเป็นเวลาใดก็ตาม เราขอยึดพระพุทธเจ้า พระธรรมคาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต คือไม่ สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า ยอมเคารพด้วยความศรัทธา คือความเชื่อถือในพระองค์ ขอ ปฏิบัติตามคาสอน คือกรรมบถ ๑๐ ประการโดยเคร่งครัด ถ้าความตายเข้ามาถึงเมื่อไร ขอไปนิพพานแห่งเดียว 

           เมื่อนึกถึงความตายแล้ว ตั้งใจเคารพ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์สาวกแล้วตั้งใจ นึกถึงกรรมบถ ๑๐ ประการว่ามีอะไรบ้าง ตั้งใจจา และพยายามปฏิบัติตามอย่าให้พลั้งพลาดคิด ติดตามข้อปฏิบัติเสมอว่า มีอะไรบ้าง ตั้งใจไว้เลยว่า วันนี้เราจะไม่ยอมละเมิดสิกขาบทใด สิกขาบทหนึ่งเป็นอันขาด เป็นธรรมดาอยู่เองการที่ระมัดระวังใหม่ๆ อาจจะมีการพลั้งพลาด พลั้งเผลอในระยะต้นๆ บ้างเป็นของธรรมดา แต่ถ้าตั้งใจระมัดระวังทุกๆ วันไม่นานนักอย่าง ช้าไม่เกิน ๓ เดือน ก็สามารถรักษาได้ครบ มีอาการชินต่อการรักษาทุกสิกขาบทจะไม่มีการ ผิดพลาดโดยที่เจตนาเลย เมื่อท่านใดทรงอารมณ์กรรมบถ ๑๐ ประการได้โดยไม่ต้องระวัง ก็ชื่อว่าท่านทรงสมาธิขั้นขณิกสมาธิได้ครบถ้วนเมื่อตาย ท่านไปสวรรค์หรือพรหมโลกได้แน่ นอนถ้าบารมียังอ่อนเกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียว ไปนิพพานแน่ ถ้าขยันหมั่นเพียรใช้ปัญญา แบบเบา ๆ ไม่เร่งรัดเกินไป รักษาอารมณ์ใจให้เป็นสุขไม่ติดในความโลภ ไม่วุ่นวายในความ โกรธ มีการให้อภัยเป็นปกติ ไม่เมาในร่างกายเรา และร่างกายเขาไม่ช้าก็บรรลุพระนิพพาน ได้แน่นอน เป็นอันว่าการปฏิบัติขั้นขณิกสมาธิจบเพียงเท่านี้

อุปจารสมาธิ

           อุปจารสมาธิ หมายถึง สมาธิเฉียดฌาน คือ ใกล้จะถึงปฐมฌาน มีกาลังใจเป็นสมาธิ สูงกว่าขณิกสมาธิเล็กน้อยต่ากว่าปฐมฌานนิดหน่อยเป็นสมาธิที่มีอารมณ์ชุ่มชื่นเอิบอิ่มผู้ปฏิบัติ พระกรรมฐานถ้าอารมณ์เข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว จะมีความเอิบอิ่มชุมชื่นไม่อยากเลิก ท่านที่มี อารมณ์เข้าถึงสมาธิขั้นนี้ จึงต้องระมัดระวังตัวให้มาก เคยพักผ่อนเวลาเท่าไร เมื่อถึงเวลานั้น ต้องเลิกและพักผ่อน ถ้าปล่อยอารมณ์ความชุ่มชื่นที่เกิดแก่จิตไม่คิดจะพักผ่อน ไม่ช้าอาการเพลียจากประสาทร่างกายจะเกิดขึ้น ในที่สุดอาจเป็นโรคประสาทได้ ที่ต้องรักษาประสาทก็ เพราะปล่อยใจให้เพลิดเพลินเกินไปจนไม่ได้พักผ่อน ต้องเชื่อคาเตือนของพระพุทธเจ้าที่ท่าน แนะนา ปัญจวัคคีย์ฤาษีทั้ง ๕ มี ท่านอัญญาโกณฑัญญะ เป็นประธานโดยที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า เธอทั้งหลายจงละส่วนสุดสองอย่างคือ

 ๑. ปฏิบัติเครียดเกินไป จนถึงขั้นทรมานตน คือเกิดความลำบาก

 ๒. ความอยากได้เกินไป จิตใจวุ่นวายเพราะความอยากได้ จนอารมณ์ไม่สงบ ถ้าเธอทั้งหลายติดอยู่ในส่วนสุดสองอย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ผลในการปฏิบัติคือ มรรคผลจะไม่มีแก่เธอเลย ขอให้ทุกคนตั้งอยู่ใน มัชฌิมาปฏิปทา คืออารมณ์ปานกลางได้แก่ อารมณ์พอสบาย

          เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแนะไว้อย่างนี้ ก็ยังมีบางท่านฝ่าฝืนปฏิบัติเพลิดเพลินเกินไป ไม่พักผ่อนตามเวลาที่เคยพักผ่อน จึงเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านวุ่นวายจนเป็นโรคประสาท ทาให้ พระพุทธศาสนาต้องถูกกล่าวหาว่าการปฏิบัติพระกรรมฐานทาให้คนเป็นบ้า ฉะนั้น ขอท่านนักปฏิบัติทุกท่าน จงอย่าฝืนคาแนะนาของพระพุทธเจ้า จงรู้จักประมาณเวลาที่เคย พักผ่อน ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ และปฏิบัติแค่อารมณ์สบาย ถ้าเกินเวลาพักที่เคยพักก็ดี อารมณ์ฟุ้งซ่านวุ่นวายคุมไม่อยู่ก็ดีขอให้พักการปฏิบัติเพียงแค่นั้น พักให้สบาย พอใจผลที่ได้ แล้วเพียงนั้น ปล่อยอารมณ์ใจให้รื่นเริงไปตามปกติ

 นิมิตทำให้บ้า

          มีเรื่องที่จะทำให้บ้าอีกเรื่องหนึ่งคือ นิมิต นิมิตคือภาพที่ปรากฏให้เห็นเพราะเมื่อกาลัง สมาธิเข้าถึงระยะอุปจารสมาธินี้ จิตใจเริ่มสะอาดจากกิเลสเล็กน้อย เมื่อจิตเริ่มสะอาดจาก กิเลสพอสมควรตามกำลังของ สมาธิที่กดกิเลสไว้ ยังไม่ใช่การตัดกิเลส อารมณ์ใจเริ่ม เป็นทิพย์นิด ๆ หน่อย ๆ ยังไม่มีความเป็นทิพย์ทรงตัวพอที่จะเป็นทิพจักขุญาณได้ จิตที่สะอาด เล็กน้อยนั้นจะเริ่มเห็นภาพนิด ๆ หน่อย ๆ ชั่วแว้บเดียวคล้ายแสงฟ้าแลบคือ ผ่านไปแว้บหนึ่งก็ หายไป ถ้าต้องการให้เกิดใหม่ก็ไม่เกิดเรียกร้องอ้อนวอนเท่าไรก็ไม่มาอีก ท่านนักปฏิบัติต้อง เข้าใจตามนี้ว่าภาพอย่างนี้เป็นภาพที่ผ่านมาชั่วขณะจิตไม่สามารถบังคับภาพนั้นให้กลับมาอีก ได้ หรือบังคับให้อยู่นานมาก ๆ ก็ไม่ได้เหมือนกัน

          ภาพที่ปรากฏนี้จะทรงตัวอยู่นานหรือไม่นานอยู่ที่สมาธิของท่าน เมื่อภาพปรากฏ ถ้ากาลังใจของท่านไม่ตกใจพลัดจากสมาธิ ภาพนั้นก็ทรงตัวอยู่นานเท่าที่สมาธิทรงตัวอยู่ ถ้า เมื่อภาพปรากฏท่านตกใจ สมาธิก็พลัดตกจากอารมณ์ ภาพนั้นก็จะหายไป ส่วนใหญ่จะลืม ความจริงไปว่า เมื่อภาพจะปรากฏนั้นเป็นอารมณ์สงัดไม่มีความต้องการอะไรจิตสงัดจากกิเลส นิดหน่อยจึงเห็นภาพได้ ครั้นเมื่อภาพปรากแล้ว เกิดมีอารมณ์อยากเห็นต่อไปอีก อาการอยาก เห็นนี้แหละเป็นอาการฟุ้งซ่านของจิต จิตตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส จิตมีความสกปรกเพราะ กิเลส อย่างนี้ต้องการเห็นเท่าไรก็ไม่เห็น เมื่อไม่เห็นตามความต้องการก็เกิดความกลุ้ม ยิ่งกลุ้ม ความฟุ้งซ่านยิ่งเกิด เมื่อความปรารถนาไม่สมหวังในที่สุดก็เป็นโรคประสาท (บางราย บ้าไปเลย) ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่เชื่อตามคาแนะนำของพระพุทธเจ้า ที่ทรงแนะนำไว้ว่าจงอย่ามีอารมณ์อยากหรืออย่าให้ความอยากได้เข้าครอบงาบังคับบัญชาจิต

เมื่อนิมิตเกิดขึ้นควรทำอย่างไร

 คำว่า นิมิต มี ๒ ประเภทคือ นิมิตที่เราสร้างขึ้น กับ นิมิตที่ลอยมาเอง
         
         ๑. นิมิตที่เราสร้างขึ้น จะแนะนำในระยะต่อไป นิมิตประเภทนี้ต้องรักษาหรือควบคุม ให้ทรงอยู่ เพราะเป็นนิมิตที่สร้างกาลังใจให้ทรงสมาธิได้นาน หรืออาจสร้างกำลังสมาธิให้ทรง อยู่นานตามที่เราต้องการ

         ๒. นิมิตลอยมาเอง สำหรับนิมิตประเภทนี้ในที่บางแห่งท่านแนะนำว่า ควรปล่อยไปเลย อย่าติดใจจาภาพนั้น หรือไม่สนใจเสียเลย เพราะเป็นนิมิตที่ไม่มีความแน่นอนถ้าขืนจำหรือจ้อง ต้องการภาพ ภาพนั้นจะหายไป กาลังใจจะเสีย แต่บางท่านแนะนำว่าเมื่อนิมิตเกิดขึ้นจะปล่อยใจ ให้เพลิดเพลินไปในนิมิตนั้นก็ได้ เพราะใจจะได้เป็นสุข จะมีความชุ่มชื่นในนิมิตนั้น เป็นเหตุให้ ทรงสมาธิได้ดี แต่จงอย่าหลงในนิมิตถ้านิมิตหายไปก็ปล่อยใจไปตามสบาย ไม่ติดใจในนิมิตนั้น คงภาวนาไปตามปกติ

         ทั้งสองประการนี้ ขอให้ท่านนักปฏิบัติเลือกเอาตามแต่อารมณ์ใจจะเป็นสุข แต่ขอเตือน ไว้นิดหนึ่งว่าเมื่อนิมิตปรากฏขึ้น ถ้าปล่อยใจให้เพลิดเพลินไปกับนิมิต ท่านอย่าลืมว่าเมื่อนิมิต หายไปนั้นเพราะใจเราพลัดจากสมาธิ ให้เริ่มตั้งอารมณ์โดยจับลมหายใจและภาวนาไปใหม่ ไม่สนใจกับภาพนิมิตที่หายไปจงอย่าลืมว่านิมิตเกิดขึ้นมาเพราะจิตมีสมาธิ และเราไม่อยาก เห็นจึงเป็นได้ และ นิมิตนั้นไม่ใช่ทิพจักขุญาณ เมื่อหายไปก็เชิญหายไปเราไม่สนใจกับ นิมิตอีกเราจะรักษาอารมณ์ใจให้เป็นสุขจากคาภาวนาและรู้ลมหายใจต่อไป ถ้าความกระวน กระวายเกิดขึ้นให้เลิกเสียทันที

สร้างนิมิตให้เกิดขึ้น

          เรื่องสร้างนิมิตนี้ ในที่นี้ไม่มีการบังคับ ท่านต้องการสร้างก็สร้าง ท่านไม่ต้องการสร้าง ก็ไม่ต้องสร้าง สุดแล้วแต่ความต้องการ ขอแนะนำผู้ที่ต้องการสร้างไว้ดังนี้

          การสร้างนิมิตมีหลายแบบ แต่ทว่าในหนังสือนี้แนะนากรรมฐานหลัก คือ พุทธานุสสติ- กรรมฐาน จึงขอแนะนำเฉพาะกรรมฐานกองนี้ อันดับแรกขอให้ท่านหาพระพุทธรูปที่ท่าน ชอบใจสักองค์หนึ่ง ถ้าบังเอิญหาไม่ได้ก็ไม่ต้องหา ให้นึกถึงพระพุทธรูปที่วัดไหนก็ได้ที่ท่าน ชอบใจที่สุด ถ้านึกถึงพระพุทธรูปแล้วใจไม่จับในพระพุทธรูป จิตจดจ่อในรูปพระสงฆ์องค์ใด องค์หนึ่งที่ท่านชอบก็ได้ เมื่อนึกถึงภาพพระพุทธรูปก็ดี ภาพพระสงฆ์ก็ดี ให้จำภาพนั้นให้ สนิทใจแล้วภาวนาว่า "พุทโธ" พร้อมกับจาภาพพระนั้น ๆ ไว้

         ถ้าท่านมีพระพุทธรูปให้ท่านนั่งข้างหน้าพระพุทธรูป ลืมตามองดูพระพุทธรูปแล้วจดจำ ภาพพระพุทธรูปให้ดี รูปพระพุทธรูปนั้นเป็นกรรมฐานได้สองอย่างคือ เป็นพุทธานุสสติ นึก ถึงพระพุทธเจ้าก็ได้ และเป็นกสิณก็ได้ เมื่อท่านมีความรู้สึกว่า รูปที่ตั้งอยู่ข้างหน้าเรานี้เป็น พระพุทธรูป ความรู้สึกอย่างนั้นของท่านเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้ามีความรู้สึกตามสีของ พระพุทธรูป เช่น พระพุทธรูปสีเหลือง เป็น ปิตกสิณ ถ้าพระพุทธรูปเป็นสีขาว เป็น โอทาตกสิณ ถ้าพระพุทธรูปสีเขียว เป็น นีลกสิณ ทั้งสามสีนี้ สีใดสีหนึ่งก็ตามเป็นกสิณระงับโทสะ เหมือนกัน

         เมื่อท่านจะสร้างนิมิตให้ทำดังนี้ อันดับแรกให้ลืมตามองดูพระพุทธรูป จำภาพพระพุทธรูป พร้อมทั้งสีให้ครบถ้วน ในขณะนั้นเมื่อเราเห็นสีพระพุทธรูปไม่ต้องนึกว่าเป็นกสิณอะไรตั้งใจจำ เฉพาะพระพุทธรูปเท่านั้น เมื่อจำได้แล้วหลับตานึกถึงภาพพระพุทธรูปนั้นภาวนาควบกับลมหายใจเข้าออกไปตามปกติ เมื่อภาวนาไปไม่นานนัก ภาพพระอาจจะเลือนจากใจ เรื่องภาพ เลือนจากใจนี้เป็นของธรรมดาของผู้ฝึกใหม่ เมื่อภาพเลือนไปก็ลืมตาดูภาพพระใหม่ทำอย่างนี้ สลับกันไป เมื่อเวลาจะนอนให้จำภาพพระไว้ตั้งใจนึกถึงภาพพระ นอนภาวนาจนหลับไป ทั้ง ๆ ที่จำภาพพระไว้อย่างนั้น แต่ถ้าภาวนาไปเกิดมีอารมณ์วุ่นวายนอนไม่ยอมหลับ ต้องเลิกจับภาพ พระและเลิกภาวนาปล่อยใจคิดไปตามสบายของใจมันจนกว่าจะหลับไป

อานิสงส์สร้างนิมิต

         การสร้างนิมิตมีอานิสงส์อย่างนี้คือ ทำให้ใจเกาะนิมิตเป็นสมาธิได้ง่าย และทรงสมาธิ ได้นานตามสมควร สามารถสร้างจิตให้เข้าถึงระดับฌานได้รวดเร็ว

อาการและอารมณ์ของอุปจารสมาธิ

         อาการของอุปจารสมาธิคือ ปีติได้แก่อารมณ์ความอิ่มใจเมื่อทำมาถึงตอนนี้อารมณ์ จะชุ่มชื่นมาก อารมณ์สะอาดเยือกเย็น มีความเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยม ไม่เคยพบความสุข อย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิต ตอนนี้เวลาภาวนาลมหายใจจะเบากว่าปกติมาก อารมณ์เป็นสุข ร่างกายของนักปฏิบัติที่เข้าถึงระดับนี้ ผิวหนังจะนวลขึ้นเพราะอารมณ์ที่มีความสุขแต่อาการ ทางร่างกายนี่สิที่ทาให้นักปฏิบัติตกใจกันมากนั่นก็คือ

         ๑. อาการขนลุกซู่ซ่า เมื่อเกิดอาการอย่างนี้หรืออย่างอื่นที่กล่าวถึงต่อไปจะมีอารมณ์ ใจเป็นสุข ขอให้ทุกท่านปล่อยอาการอย่างนั้นไปตามสภาพของร่างกาย จงอย่าสนใจ เมื่อสมาธิ สูงขึ้น หรือลดตัวลงต่ำกว่านั้น อาการอย่างนั้นก็จะหมดไปเอง อาการขนลุกพองถ้ามีขึ้นพึงควร ภูมิใจว่า เราเข้าถึงอาการของปีติระดับหนึ่งแล้ว อย่ากังวลอาการของร่างกาย

         ๒. อาการของปีติขั้นที่ ๒ ได้แก่อาการน้ำตาไหล

         ๓. อาการของปีติขั้นที่ ๓ คือร่างกายโยกโคลง โยกไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง บางคราวโยกแรง จนศีรษะใกล้ถึงพื้น

         ๔. อาการของปีติขั้นที่ ๔ ตามตำราท่านว่าตัวลอยขึ้นบนอากาศ แต่ผลของการปฏิบัติ ไม่แน่นัก บางรายก็เต้นเหมือนปลุกตัว บางรายก็ตัวลอยขึ้นบนอากาศ เมื่อลอยไปแล้ว ถ้าสมาธิ คลายตัวก็กลับมาที่เดิมเอง (อย่าตกใจ)

         ๕. อาการของปีติขั้นที่ ๕ คือ มีอาการแผ่ซ่านในร่างกายซู่ซ่าเหมือนมีลมไหลออก ในที่สุดเหมือนตัวใหญ่และสูงขึ้น หน้าใหญ่แล้วมีอาการเหมือนลมไหลออกจากกาย ในที่สุด ก็มีความรู้สึกว่าตัวหายไปเหลือแต่ท่อนหัว

          อาการทั้งหมดนี้ เมื่อเกิดขึ้นอารมณ์ใจจะมีความสุข ฉะนั้น นักปฏิบัติให้ถืออารมณ์ใจ เป็นสำคัญ อย่าตกใจในอาการตามที่กล่าวมาแล้วนั้น พอสมาธิสูงถึงระดับฌานก็จะสลายตัว ไปเอง ปีตินี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วอารมณ์จะเป็นสุข คือถึงระดับที่สี่ ที่จะเข้าถึงปฐมฌาน ต่อไปก็ เป็นปฐมฌานเพราะอยู่ชิดกัน

อัปปนาสมาธิหรือฌาน

         ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิ คำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์ มั่นคง เข้าถึงระดับฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อน มาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรง ท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย

          เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้น ไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมี ความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุข เยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไร อารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ

          ๑. รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก คำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่ มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน) หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบ ประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลย คงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ ฌานที่หนึ่ง

          ๒. เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิต มีสมาธิลดลง เพราะกาลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์คิด คือความ รู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์ เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌานที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริง ไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง 

          ๓. เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สาม ตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึก ว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไป ทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอก ที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมาก เป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม

          ๔. อาการของฌานที่สี่ เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด สาหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็ เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกาลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า

          เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่าง เป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป

          เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้น
จะมี ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่า จิต ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก


          เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน กาลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด เป็นอย่างนี้

          ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป

 ความมุ่งหมายในการเจริญสมาธิ
 
           การที่เจริญสมาธิมีความมุ่งหมายดังนี้คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระพุทธประสงค์ เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ มีการเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉานเป็นต้น ถ้าจะ เกิด ก็ต้องการเกิดเป็นมนุษย์ชั้นดี มีรูปสวย เสียงไพเราะ มีโรคน้อย มีอายุยืนยาวนานถึงอายุขัย มีทรัพย์สมบัติมาก มีความสุขเพราะทรัพย์สิน และทรัพย์สินไม่ถูกทำลายเพราะโจร ไฟ น้ำ ลม มีคนในปกครองดีไม่ฝ่าฝืนคำสั่ง มีเสียงไพเราะผู้ที่ฟังเสียงไม่อิ่มไม่เบื่อในการฟัง พูดเป็นเงิน เป็นทอง (รวยเพราะเสียง) ไม่มีโรคประสาท หรือโรคบ้ารบกวน มีหวังพระนิพพานเป็นที่ไป แน่นอน หรือมิฉะนั้นเมื่อยังไปนิพพานไม่ได้ ไปเกิดเป็นพรหมหรือเทวดาก่อนแล้วต่อไปนิพพาน แต่ความประสงค์ของพระพุทธองค์มีพระพุทธประสงค์ให้ไปพระนิพพานโดยตรง
 
 ความต้องการของการเจริญพระกรรมฐาน
 
            การเจริญพระกรรมฐาน ไม่ใช่ว่าจะต้องการทำใจให้สบายเฉพาะเวลาที่นั่งสมาธิ เท่านั้น การนั่งสมาธิได้ดีขนาดไหนก็ตาม แต่เมื่อเลิกนั่งแล้วใจไม่ทรงการปฏิบัติในกฎ ๘ ประการ ตามที่กล่าวมาแล้วได้ คือยังเผลอลืม ยังละเมิดเป็นบางวาระ ถือว่ายังเอาดีจริง ๆ ไม่ได้ เพราะยังเป็นทางเดินลงนรก แต่ละข้อถ้าละเมิดมีโอกาสลงนรกได้ จึงจำต้องเอา สมาธิใช้ในที่นั้นด้วย คำว่า สมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่น เวลานั่งฝึก เป็นการฝึกอารมณ์ให้ ทรงตัวเพื่อเอามาใช้ตามนี้ เมื่อเลิกนั่งแล้วมีใจ เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เป็นปกติ ใจต้องระวังไม่ให้สิกขาบท ๘ ประการ ขาดตกบกพร่อง ทรงอยู่ด้วยดีตลอดเวลา เรียกว่า มีสมาธิครบถ้วน ถ้าปฏิบัติได้ครบถ้วนตามนี้และทรงได้ไม่ขาดตลอดกาล บาป ที่ทำแล้วทั้งหมดไม่ให้ผลต่อไปเลิกไปอบายภูมิจนกว่าจะเข้านิพพาน
 
                   
                            *******************
 
             ~~~  จิตใจล่องลอยไปกับน้ำ  น้ำซึ่งไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
                          เหมือนกับจิตใจคนที่ สูงสุด คืนสู่สามัญ ~~~~
                          





 

 
 


วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โอวาทของพระบรมครูธรรมเทพโลกอุดร

      โอวาทของพระบรมครูธรรมเทพโลกอุดร

       การปฏิบัติธรรมทางด้านจิต  จงเป็นผู้มีสติปัญญารู้เท่าทัน
ความเคลื่อนไหวของจิตทุกลมหายใจเข้าออก  และทุกอริยาบท
เว้นเสียแต่หลับ  เมื่อรู้เท่าทันจิตแล้วต้องรู้จักรักษาจิต คุ้มครองจิต
จงดูจิตเคลื่อนไหว  เหมือนเราดูลิเกหรือละคร เราอย่าเข้าไปเล่นลิเก
หรือละครด้วย  เราเป็นเพียงผู้นั่งดู  อย่าหวั่นไหวไปตามจิต  จงดู
พฤติการณ์ของจิตเฉยๆ ด้วยอุเบกขา  จิตไม่มีตัวตนแต่สามารถกลิ้ง
หลอกล้อ  หรือยั่วเย้าให้เราหวั่นไหวดีใจและเสียใจได้  ฉะนั้นต้องนึก
เสนอว่าจิตไม่มีตัวตน  อย่ากลัวจิต  อย่ากลัวอารมณ์  เราหรือ
สติสัมปชัญญะต้องเก่งกว่าจิต  ความนึกคิดอารมณ์ต่างๆ  เป็นอาการ
ของจิต ไม่ใช่ตัวจิต  แต่เราเข้าใจว่าเป็นตัวจิต  ธรรมชาติของจิตคือผู้รู้
อารมณ์  คิดปรุงแต่งแยกแยะไปตามเรื่องของมัน  แต่แล้วมันต้องดับ
ไปเข้าหลักเกิดขึ้น ตั้งอยู่  ดับไป  คือไม่เที่ยง  ไม่จีรังยั่งยืน  ทนได้ยาก
เป็นทุกข์  และสลายไปไม่ใช่ตัวตน  มันจะเกิดดับๆ อยู่ตามธรรมชาติ
เมื่อเรารู้ความจริงของจิตเช่นนี้  เราก็สงบไม่วุ่นวาย  เราในที่นี้หมายถึง
สติปัญญา  สัพเพ  ธัมมา  อนัตตา  ธรรม (สิ่งทั้งปวง)  เป็นอนัตตา
คือไม่ใช่ตัวตน

      นิมิตที่เกิดขึ้นขณะนั่งสมาธิมีอยู่  2  ประการ คือ

      1.  เกิดขึ้นเพราะเทพบันดาล  คือเทวดาหรือพรหมแสดงภาพ
นิมิตและเสียง ให้รู้ ให้เห็น

      2.  นิมิตเกิดขึ้นเพราะอำนาจสมาธิเอง

      นิมิตจะเป็นประเภทใดก็ตาม  ขอให้ผู้เจริญกรรมฐานจงเป็นผู้ใช้
สติปัญญาให้รู้เท่าทันนิมิตที่เกิดขึ้นนั้นด้วยปัญญา  อย่าเพิ่งหลงเชื่อ
ทันที  จะเป็นความงมงาย ให้ปล่อยวางนิมิตนั้นไปเสีย อย่าสนใจให้
เอาจิตทำความจดจ่ออยู่เฉพาะจิต  เมื่อจิตสงบรวมตัว  จิตถอนตัว
ออกมารับรู้นิมิตนั้นอีก  หากปรากฏนิมิตอย่างนี้  ซ้ำๆ  ซากๆ  หลาย
ครั้งแสดงว่านิมิตนั้นเป็นจริงเชื่อถือได้  แต่อย่างไรก็ตาม นิมิตที่มา
ปรากฏนี้อยู่ในขั้นโลกียสมาธิ  นิมิตต่างๆ  จึงเป็นความจริงน้อย  แต่
ไม่จริงเสียมาก  มุ่งหน้าทำจิตให้สงบเป็นอัปนาสมาธิ  อย่าสนใจนิมิต
หากทำได้อย่างนี้จิตจะสงบตั้งมั่น  เข้าถึงระดับฌาณจะเกิดผล คือ
สมาบัติสูงขึ้นตามลำดับ  จิตจะมีพลังอำนาจอันมหาศาล ฤทธิ์เดชจะ
ตามมาเองด้วยอำนาจของณาณ

      ธรรมะบางข้อของพระบรมครูธรรมเทพโลกอุดร

      จึงได้ธรรมะของท่าน  สรุปย่อๆ  บางส่วนดังนี้
   
      1.  ธรรมะของท่านต้องเกิดจากการปฏิบัติเท่านั้น

      2.  ต้องมีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก

      3.  อยากรู้ธรรมะหรือคำสอนของท่าน ให้ดูจิตของตนเอง

      4.  ให้รักผู้อื่นเหมือนที่รักตนเอง

      5.  ให้ทำตัวเหมือนน้ำ

           -  น้ำไปได้ทุกสถานที่  อยู่ในน้ำ  ในอากาศ  ในดิน

           -  น้ำอยู่ได้ทุกสภาวะ  เป็นไอน้ำ  เป็นน้ำ  เป็นน้ำแข็ง 

           -  น้ำให้ความชุ่มชื่น  สดชื่น  แก้กระหาย

           -  น้ำให้ชีวิต  และทำลายชีวิต

           -  น้ำให้ความเย็น  ให้ความร้อน

           -  น้ำมีรูปร่างต่างๆ  กันตามรูปร่างของภาชนะ

           -  น้ำใช้ล้างความสกปรกให้สะอาด เป็นต้น

    พระคาถาบูชาพระบรมครูธรรมเทพโลกอุดร 
                    (อธิษฐานฤทธิ์)  

                                   นะโม  3  จบ                  
          อะอุมะ  พุทโธ   นะโนพุทธายะ
        นะมะพะธะ  รัตตะนะตะยา  นุภาเวนะ           
               สะทา  โสตถี  ภะวันตุเม
        อิทธิ  อิทธิ  ฤทธิ  ฤทธิ  สิทธิ  สิทธิ    
       ชัยยะ  ชัยยะ  ลาภะ  ลาภะ  อุตระเรนะ
                 พุทธะ  นิมิตตัง  อิติ     
                 ธัมมะ  นิมิตตัง  อิติ
                 สังฆะ  นิมิตตัง  อิติ
               (ตั้งจิตอธิษฐานตามความปราถนา)

                                  ฉบับย่อ
                          นะโม  3   จบ
    โลกุตตะโร  จะ  มะหาเถโร  อะหัง  วันทามิ
ตัง สะทา  เมตตาลาโภ  นะโสมิยะ   อะหะพุทโธฯ 

    ภาวนา  3  จบ  7  จบ  หรือ  9  จบ  เช้า-เย็น ตื่นนอน และก่อนนอน 


            ***  ถึงมีทรัพย์  ก็ใช่ว่าจะมีอายุยืนยาวตลอดไป *** 
          (ชีวิตมีภัย เงินก็ขจัดให้ไม่ได้ คือ ความแก่ และความตาย)


วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ศีลห้า บทขาดปัญญาเสพสุราของมึนเมา โดย พระอรหันต์จี้กง

  บทขาดปัญญาเสพสุราของมึนเมา

     คนเป็นสัตว์ที่เกิดจากแรงกรรม แรงกรรมผลักดัน
พฤติกรรมความเป็นไปในชีวิตของคน การแสดงออก
ตามอนุสัยสันดานเป็นแรงกรรม ไม่เฉพาะเจ็บป่วยหนัก
จึงเรียกว่าแรงกรรม แรงกรรมเปลี่ยนแปลงได้ด้วยจิตใจ
มุ่งมั่นในความดีงาม

     เขาว่าอาจารย์ขี้เมา ฉันเหล้า ฉันเนื้อสัตว์ ถ้าอย่าง
งั้นอาจารย์ก็ต้องลงนรกซิใช่ไหม อาจารย์สอนพวกเจ้า
ให้งดดื่มเหล้าเพราะพวกเจ้ากินนกเข้าไปตัวหนึ่งแล้วไม่
อาจฉุดช่วยวิญญาณของเขาให้ไปเกิดเป็นคนได้

     เมื่อแม้แต่ฉุดช่วยวิญญาณของตัวเอง ยังไม่ได้เลย
เจ้าจึงต้องสำรวมละเว้นหลังดื่มเหล้าแล้ว เจ้ายังคงรัก
ษาสติสัมปชัญญะรักษากิริยาสง่างามอยู่ได้ไหม จุดนี้เจ้า
จึงเทียบกับพระอริยเจ้าไม่ได้ บางครั้งพระอริยเจ้าอุบัติ
มาในโลกเพื่อล้อเล่นชีวิต แต่พระประวัติบางเรื่องคน
เล่าขานหรือการแสดงก็แต่งเติมเป็นนิยายไป

     ฉะนั้นในส่วนนี้ จึงอย่าได้เอาพระองค์มาเป็นแบบ
อย่างข้ออ้างทำตาม แม้วิถีอนุตตรธรรมจะเป็นยานขึ้น
สูง แต่ธรรมปฏิบัติตามทางสายกลางก็ยังคงต้องเริ่มต้น
ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา อย่าเข้าใจว่าเมื่อได้จุดนี้จาก
พระอาจารย์แล้ว ได้รู้จุดสถิตจิตวิญญาณตนโดยฉับ
พลันแล้ว จะกล่าวอ้างว่ารู้แจ้งเห็นจริงได้

     อนุสัยสันดานเดิมของเจ้าที่ติดตามมา เจ้าได้ชำระ
แล้วหรือ? หนี้เวรกรรมจากหกหมื่นปีที่ผ่านมา เจ้าลอก
ออกทีละชั้นได้หรือยัง? เจ้าได้สร้างสมบุญกุศลได้เจริญ
ปณิธานใช้หนี้เขาไปหรือยัง?

     ฉะนั้น เจ้าจึงจำต้องค่อยสำรวมระวังบำเพ็ญไป
ขณะนี้พวกเจ้าก็ดีแต่เผยแพร่นำพาคน ให้ได้รับธรรมะ
ไม่ได้ย้อนมองภายในจิตใจของตนเองเลย กิเลสตัณหา
อนุสัยในสันดานมีอยู่เท่าไร รู้ไหมทำไมคนจึงเวียนว่าย
เกิดตายในชีววิถีหกไม่จบสิ้น มันเวียนว่ายไปตามแรง
ของสันดาน


     แม่บ้านทำอาหารชอบจะเหยาะเหล้า แต่งกลิ่น
สักเล็กน้อย คิดว่าไม่ถึงกับทำให้มึนเมา หารู้ไม่ว่าจะติด
เป็นนิสัยแล้วจะแก้ยาก ผู้ชายพอนึกถึงงานเลี้ยง นึกถึง
เรื่องเสริมสร้างสุขภาพก็จะนึกถึงเหล้า ผู้บวชบำเพ็ญ
กินอาหารวันละสองมื้อ หน้าตาสดใส เลือดฝาด
สมบูรณ์ ไม่เห็นจะต้องอาศัยเหล้ามาบำรุง มันอยู่ที่พลัง
จิตต่างหาก ทางที่ดีอย่าแตะต้องมันเลย

     เจ้าจะใช้เหล้าได้ในโอกาสใด เมื่อเจ็บป่วย หมอ
ให้ยาที่ต้องใส่เหล้า ดองเหล้าแต่ไม่ให้ถึงกับมึนเมา
หายป่วยแล้วให้เลิกไปเลยไม่ให้ติดใจ

     ยาผสมเหล้าใช้ทาภายนอกไม่เป็นไร ดื่มเหล้าทำ
ให้ทรัพย์สินเสียหายบุญวาสนาค่อย ๆ ลดน้อยลง ไม่ดื่ม
เหล้าและไม่ให้เหล้าแก่ใคร เดินทางไปต่างประเทศก็
ไม่ช่วยซื้อไม่ช่วยหอบหิ้วเหล้าให้ใคร ไม่ค้าขายเหล้า
เขากินเข้าไปแล้วขาดสติ ทำความชั่วอะไรลงไปบ้าง

     ความผิดบาปตรงนั้น เกิดจากเหล้าที่เจ้าให้เขา
ขายเขา หรือช่วยหอบหิ้วมาให้เขาฯ เจ้าคิดว่าเจ้ามีส่วน
ด้วยไหมกับความผิดบาปนั้น เขาจะดูถูกว่า “น้ำหน้า
ผู้หญิง” กินเหล้าสูบบุหรี่ ขี่รถซิ่งไม่เป็น ยังดีกว่าที่
เจ้าจะเอาอย่างเขา เขาสอนให้เจ้าตกนรกรู้ไหม โรคตับ
หัวใจ เบาหวาน มะเร็งในกระเพาะอาหารฯ จะเกิด
ตามมา ตั้งแต่โบราณมาเราเสียคนดี ๆ ไปมากแล้ว
เพราะเหล้า

     อริยกวี “หลี่ไป๋” คนหนึ่งละที่เมาเหล้าแล้ว
จมน้ำตาย เพราะลงไปอุ้มดวงจันทร์ในน้ำ กลิ่นเหล้า
เต็มตัวอย่างนี้ เมื่อมีเหตุร้ายเจ้าจะให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์พระ
องค์ใดเข้าใกล้มาฉุดช่วย ผู้ใดไม่เสพเหล้าและอาหาร
คาวรักษากายใจให้บริสุทธิ์ ผู้นั้นจะมีกลิ่นกายหอม
คล้ายไม้จันทน์

     พูดถึงกลิ่นไม้จันทน์ วันหนึ่งเมื่อเจ้าได้กลิ่นไม้
จันทน์แล้ว หันไปก็ได้พบพระโพธิสัตว์กวนอิมประทับ
อยู่ ณ ที่นั้น อย่าได้เที่ยวบอกเล่าไป เพราะจะกลาย
เป็นเพ้อเจ้อ นิมิตเห็นดอกบัวขาวเห็นแสงสว่างเจิดจ้า
บนหลังคาบ้าน ฯลฯ เป็นนิมิตมงคลในใจก็พอแล้ว

     การปฏิบัติบำเพ็ญให้เห็นชัดในธรรมะ ในสัจธรรม
ในพระโองการจริง มิให้ติดนิมิตใด ๆ ที่ถ่ายรูปแล้ว
ปรากฏอะไรแปลก ๆ ไม่ใช่ไม่มี แต่อย่าอยากให้มีทุก
อย่างมีเหตุปัจจัยส่งผลให้เป็นการเฉพาะเท่านั้น มิใช่จะ
เรียกร้องเอาได้

     เมาเหล้าจะทำผิดได้ทุกอย่าง ผิดกามได้ไม่ว่า
กับพี่น้อง คนใช้ ลูกหลานหรือใคร บางคนเขียนเช็คให้
เขาตอนเมาเหล้าถึงกับล้มละลายไปเลย ติดต่อค้า
ขายสังคมกัน เลี้ยงอาหารเครื่องดื่มอื่น ๆ ให้ความ
จริงใจต่อกันจะดีกว่า ไม่ต้องเลี้ยงเหล้า พอเมาเหล้า
ความอายก็หายหมด

    คนที่ผิดหวังเสียใจทำไมดื่มเหล้า เพราะเมาแล้ว
คิดถึงอยากได้หญิงสาวมาย้อมใจก็ได้อย่างที่คิดเหมือน
ดมกาว ดมสารระเหยเสพติด เขาจะหลงภาพลวงตาที่
เกิดขึ้นตรงหน้าเหมือนของจริง สิ่งเสพติดทุกอย่างเสพ
ติดง่ายแต่ตัดใจเลิกยาก

     ก่อนออกจากบ้านพิถีพิถันแต่งตัว พอเหล้าเข้า
ปากผมก็เริ่มปรกหน้า เสื้อผ้าก็หลุดลุ่ย ไม่เหลือบุคลิก
งามสง่าของครูบาอาจารย์ ของสามี ของพ่อ ของปู่ ของ
คนที่น่าเคารพนับถืออีกเลย พูดหยาบคายไขความลับ
ได้แก้ผ้าได้ไม่อับอาย

     ฆ่าฟันตบตีด่าทอพ่อแม่ เปิดนรกสิบแปดขุมให้
ตัวเองทันที ผู้หญิงดื่มเหล้าเมายิ่งน่าเกลียด ถูกใคร
รังแกล่วงเกินก็ไม่รู้ตัว มีแต่คนดูถูกเหยียดหยาม ท่าน
จอมปราชญ์ขงจื้อ จึงได้อุทานด้วยความสมเพชตั้งแต่
เมื่อสองพันกว่าปีก่อนว่า “ฉันไม่เคยเห็นผู้กระหายใน
คุณธรรมเหมือนดังกระหายในกามเลย”
เมื่อ “กาม”
เข้าครอบงำ “คุณธรรม” ก็หายไป เมาแล้วจิตใจ
ฟุ้งซ่านทะยานอยากผิด ๆ ท้าทายกล้าเสี่ยง ศีลข้อไหน
ก็รักษาไว้ไม่ได้
 
     แพร่งพรายไตรรัตน์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายก็ไม่
อยู่ในสายตา พบคนเสเพลขี้เหล้าเมายา ถ้าตักเตือน
ได้ก็ตักเตือนไป ตักเตือนไม่ได้ให้หลีกหนี ถ้าเขาไม่มี
รากบุญกุศล อย่าพยายามดึงเขามารับวิถีธรรม เจ้าอาจ
ช่วยเขาไม่ได้ แต่กลับถูกแรงกรรมของเขาฉุดไป เพราะ
สมาธิความมั่นคงของเจ้ายังไม่อาจเทียบเท่าพระพุทธะ

     เจ้าอาจจะรู้สึกว่าอยู่กับวงการธรรมะนาน ๆ เข้า
เลยแยกตัวจากสังคมไป แท้จริงแล้วไม่ใช่ ไม่ได้แยก
และไม่ต้องแยก เพียงแต่เจ้าจะต้องรู้จักใช้ด้านสว่าง
ของวงการธรรมะไปปรับสภาพ ด้านที่เป็นความมืดของ
สังคมภายนอกให้ได้อย่างเหมาะสมเท่านั้น เจ้าไม่ต้อง
กินเหล้าเมายากับเขา แต่เจ้าก็ยังเป็นคนหนึ่งในสังคม
นั้น

     รู้ว่ากินเหล้าเมายาผิดศีล แต่ก็ยังทำ ทำแล้วใจคอ
ก็จะหวั่นวิตกไม่เบิกบาน จึงต้องสำนึกผิดทุกวัน หลง
ใหลอยู่ในความเมาวันแล้ววันเล่า ไม่มีเวลาตื่นใจไม่มีสติ
ที่จะมองหานิสัยสันดานไม่ดีของตัวเอง จึงไม่ได้แก้ไข
รากเหง้าของกุศลบุญก็เน่าเปื่อยไป เวลาเมาท่อน้ำกว้าง
แค่คืบก็ก้าวไม่พ้น

     เมื่อตายแล้วจะก้าวข้ามทะเลทุกข์ ทะเลเกิดตาย
ได้หรือ เมื่อมีชีวิตอยู่ ทิ้งนิสัยสันดานชั่วไม่ได้ ตายแล้วจะ
ไม่ยึดมั่นในอุปาทานได้หรือ ผู้สำรวมในศีลจึงมีปัญญา
เป็นหัวใจ ส่วนผู้ที่ยึดมั่นในอุปาทานมีความโง่เขลาเป็น
หัวใจ

     เหล้า มีกับแกล้มเป็นเพื่อนที่เหมาะสมเข้ากันดี
คือ เนื้อสัตว์ ส่วนมากคนที่กินเหล้าจึงชอบกินเนื้อสัตว์
คนกินเนื้อสัตว์จึงชอบกินเหล้า เหล้ามีกามตัณหาเป็น
เพื่อนคู่ใจ คนที่กินเหล้าจึงมักจะชอบเรื่องกาม คนที่
ชอบเรื่องกามจึงชอบกินเหล้า ทั้งหมดนี้เจ้าก็รู้ดีว่าเป็น
เหตุที่นำไปสู่หนทางนรก


คัดลอก จาก บำเพ็ญขัดเกลาพุทธจิต



     ~~~ เหล้าไม่เมาคน  แต่คนไปเมาเอง  
                   กามาไม่หลงคน แต่คนไปหลงเอง
                        และเงินไม่รักคน แต่คนอยากได้เอง ~~~

ศีลห้า บทมุสาวาจามิชอบ โดย พระอรหันต์จี้กง

                  บทมุสาวาจามิชอบ

     วาจามิชอบ เป็นจุดเริ่มต้นของความผิดบาป อื่นๆ
การบรรยายธรรม ปาถกฐา ฯ จะต้องมีสาระในทาง
เสริมสร้าง จึงจะนับว่าเป็นนักพูดที่ได้รับความสำเร็จ

     คนค้าขายจะไม่ให้ผิดข้อมุสานั้นยาก ทางที่ดีเมื่อ
ค้าขายได้เงินทองของเขามาแล้ว แบ่งปันส่วนหนึ่งไป
ทำบุญทานอุทิศให้เขา และชดเชยความผิดของตนเสีย

     แต่ช่วยพูดจาส่งเสริมญาติธรรม จะต้องติดตาม
ผล ให้วิเคราะห์ความทุกข์ของเขาจากความเป็นจริง
อย่าพูดให้เขาหลับหูหลับตามารับธรรมะ อย่าเหมาว่า
รับธรรมะแล้วจะหายจากโรคภัยนั้น ๆ หรือกินเจตลอด
ชีวิตแล้วตั้งตำหนักพระจะหายจากโรคมะเร็งได้

     จงส่งเสริมให้เขาเข้าใจหลักสัจธรรมด้วย มีกำลัง
ความสามารถเท่าไรก็พูดไปเท่านั้น ไม่พูดเกินกำลัง
ความเป็นจริง มีคำกล่าวว่า “พูดปดไปเพียงคำเดียวจะ
ต้องหาคำโกหกมาปิดบังคำพูดนั้นอีกถึงสิบคำ” พูดปด
บ่อย ๆ จะกลายเป็นความเคยชิน “วาจามิชอบเป็น
อาวุธฆ่าคนได้อย่างเลือดเย็น” “อย่าเที่ยวได้ปากยื่น
ปากยาวไปบ้านเหนือบ้านใต้”

     พูดเพ้อเจ้อถือเป็นวาจามิชอบ แต่ถ้าพูดแบบ
อารมณ์ขันทำให้ผู้อื่นคลายทุกข์ได้ไม่ผิด เขายกย่องชม
เชย ซึ่งแม้เจ้าจะดีอย่างที่เขาชื่นชมจริง แต่เจ้าก็ปฏิเสธ
คำชมด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน ว่าไม่จริงอย่างนี้ไม่ผิด
ทุกคนชอบฟังคำพูดที่ทำให้สบายใจ วาจาดีเป็นสะพาน
เชื่อมบุญสัมพันธ์

     ถามทุกข์สุข แนะนำปลอบโยน ชื่นชมให้กำลังใจ
ชาติก่อนชอบนินทาว่าร้าย ชาตินี้จะถูกทำลายชื่อเสียง
มีอุปสรรคถูกขัดขวางถูกด่าว่า พูดจาไม่มีใครรับฟังน้ำ
เสียงไม่ไพเราะ อ้ำอึ้งพูดกำกวมไม่ชัดเจนฯ ผู้ผิดศีลข้อ
มุสาใช้วาจามิชอบ จะบำพ็ญอย่างไร ก็ไม่ได้สัมโพธิผล

     ศีลห้าไม่บริสุทธิ์ บกพร่องข้อใดก็ตาม จะไม่อาจ
บรรลุสัมโพธิมรรคทั้งสิ้น ผู้ผิดศีลข้อมุสาใช้วาจามิชอบ
กลิ่นปากจะเหม็นเป็นประจำรักษาไม่หาย กลิ่นตัวแรง
ยิ่งกินเนื้อสัตว์จะยิ่งกลิ่นตัวแรง กินเจจะทำให้คลายลง

     ผู้สำรวมรักษาศีล ใช้วาจาชอบ ปากจะมีกลิ่นหอม
เหมือนดอกอุบลวรรณ ศพของผู้บำเพ็ญบางคนถูเผา
แล้ว ฟันยังคงอยู่ไม่ถูกเผาไหม้ทั้งสามสิบสองซี่ก็มี ผู้ใช้
วาจาชอบจะเป็นที่เชื่อถือยินดีแก่คนทั้งหลาย ไม่ต้องมี
สิ่งซ่อนเร้น จะไม่มีเสียงหยาบคายรบกวนหู รบกวนใจ

     พูดเกินความเป็นจริงบางอย่าง ด้วยเจตนาดี
เพื่อฉุดช่วยนำพาเขาให้พ้นทุกข์ ไม่ถือเป็นวาจามิชอบ
“กวนใจ ทำลายสติ ให้เขาคิดมากลำบากใจ” “ทำลาย
สายสัมพันธ์ให้เขาแหนงหน่ายไม่ลงรอยกัน” “หยอกล้อ
ล่วงเกินให้เขาอับอายเกิดปมด้อย” ฯลฯ เหล่านี้ล้วน
ผิดศีลมุสาใช้วาจามิชอบ มีเกร็ดประวัติเรื่องหนึ่ง ซึ่ง
ท่านบรมครูขงจื้อถือเป็นอุทาหรณ์สอนใจศิษย์ ทันที
เมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นคือ เช้าวันหนึ่งศิษย์คนหนึ่งอยู่เวร
ทำอาหาร ข้าวต้มสุกแล้ว บังเอิญเศษอะไรชิ้นเล็กๆ
ตกจากเพดานลงไปในข้าวต้ม ศิษย์ผู้นั้นกลัวจะเป็นอัน
ตรายแก่ท่านบรมครู จึงตักเศษอะไรนั้นใส่ปากเพื่อ
พิสูจน์ว่ามันคืออะไร

     ท่านบรมครูชี้ให้ศิษย์อีกคนหนึ่งดู ศิษย์ผู้นั้นลุก
ขึ้นตรงเข้าไปว่ากล่าวติเตือนเพื่อนทันทีว่า “เสียมรร
ยาทเองกินอาหารก่อนท่านครู” ศิษย์ผู้ถูกกล่าวหาร้อง
ปฏิเสธรีบชี้แจงความเป็นจริงด้วยความตกใจ ท่านบรม
ครูจึงเรียกชุมนุมศิษย์ทั้งหมดแล้วให้คติว่า “สิ่งที่ครูมอง
เห็นเองยังผิดต่อความเป็นจริงได้ แล้วยิ่งเป็นเรื่องที่เล่า
ต่อกันมาล่ะ จากปากที่สามต่อไปความเป็นจริงจะถูก
บิดเบือนไปอีกเท่าไร...”

     ฉะนั้น ก่อนจะสรุปความว่ากล่าวติเตียนใคร จึง
ให้ระวังคำมุสาวาจามิชอบ “ไม่อยากมีเรื่องกล่าวหาว่า
ร้ายให้สงบปากสงบคำอย่าพร่ำพูด” อย่าพูดเอาแต่ได้
อย่าปักหลักพูดแต่ฝ่ายตัวเอง ให้ยืนอยู่เป็นฝ่ายเขา
เห็นใจเขา ให้โอกาสเขาพูดเพื่อคนอื่นบ้าง ความบาด
หมางจากวาจาจะน้อยลง

     มีคนสองระดับที่ไม่นินทาว่าร้าย คือ ผู้มีปัญญา
ระดับสูง และคนโง่ทึ่มที่สุด ปัญญาสูงเห็นสัจธรรมไม่
หวั่นไหวในเสียงรบกวน คนโง่ทึ่มไม่เข้าใจในเสียงรบ
กวน คนสองระดับนี้จึงบำเพ็ญศีลข้อนี้ได้ดี

     จะพูดจานำพาคนมารับธรรมะ อย่าให้เขาเข้าใจ
ผิดว่าเจ้ามีความพึงพอใจในตัวเขา ต้องเอาความเมตตา
เป็นเจตนา อย่าเอาอารมณ์ ความรู้สึกพิสมัยเป็นเจตนา
ญาติธรรมหนุ่มสาวต้องระวังเรื่องนี้ให้มาก อาชีพหมอ
ดูทำนายทายทักดวงชะตาอาชีพดูทำเลที่ทาง (ฮวงจุ้ย)
ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษาฯ ยิ่งต้องระวังวาจา

     พูดผิดพลาดพลั้งไปทำร้ายจิตใจ ทำลายชีวิต
อนาคตเขา จะบาปมาก ผู้ไม่ผิดศีลมุสาไม่ใช้วาจามิชอบ
ผู้ได้สำรวมปากคำมาสามชาติ ชาตินี้ปลายลิ้น จะแตะ
ถึงจมูก ลิ้นมีสีแดงดังชาดทาไว้ ริมฝีปากอิ่มเกิดเป็นหญิง
ซี่ฟันจะกว้างหนา เป็นศรีภรรยาเป็นศรีสะใภ้

     แต่หากหญิงใดฟันห่าง ลมปากผ่านช่องฟันได้เป็น
คนจับจ่ายไม่ยั้งเก็บเงินไม่อยู่ ฟันซี่เรียวเล็กเหมือนฟัน
หนูเป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้นเจ้าเล่ห์เจ้ากล หญิงใดสุ้มเสียง
อ่อนโยนนุ่มทุ้ม มีบุญวาสนาสูงส่ง ลักษณะภายนอก
เหล่านี้เป็นเครื่องประกอบให้เจ้ารู้ไว้พิจารณาตัวเอง

    บกพร่องส่วนใด ก็ให้แก้ไขด้วยการปฏิบัติบำเพ็ญ
ในที่สุดลักษณะด้อยของเจ้า ก็จะกลายเป็นลักษณะดีได้
พวกเจ้าเพ้อเจ้อ มุสา ใช้วาจามิชอบกันวันละมากมาย
พอๆ กับกินข้าวใช่ไหม นี่แหละจะทำให้การปฏบัติบำ
เพ็ญของเจ้าถูกก่อกวน แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยเหมือน
กับน้ำข้าวต้มใสๆ ดูเหมือนกับไม่ได้ผิดอะไร แต่ก็ทำให้
เจ้าสะดุดได้ สำรวมในศีลอย่างแท้จริง จึงเป็นการ
บำเพ็ญอย่างแท้จริง

     ผู้ได้รับวิถีธรรม แล้วไม่ถือศีลจะเป็นเพียงผู้มี
บุญสัมพันธุ์ที่ผ่านเข้ามาในประตูพุทธะเท่านั้น ถือศีล
ได้บริสุทธิ์ หนึ่งศีลมีหนึ่งเทพยดาคุ้มครองรักษา ไม่
สำรวมในศีล สิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพยดาไม่กล้าเข้าใกล้ อีกทั้ง
ไม่อาจปกปักรักษา ถือศีลสำรวมวาจา จะเกิดปัญญามี
วาทะศิลป์มีสง่าราศีลักษณะดีงาม

คัดลอก จาก บำเพ็ญขัดเกลาพุทธจิต




   @@@  ระหว่าง "รู้" กับ "ทำ" นั้น 
                   ช่างห่างไกลกันเสียเหลือเกิน  @@@

ศีลห้า บทกามตัณหา โดย พระอรหันต์จี้กง

                   บทกามตัณหา

     “อิ่มนัก มักเริงกาม” “มักมากในกาม เป็นความ
ผิดบาปมหันต์กว่าความผิดบาปใด ๆ”

     ความชั่วที่พัวพันคนมากที่สุดในโลก คือ “กาม
ตัณหา” มันร้ายยิ่งกว่า “แอมแฟตตามีน” (ยาม้า)
หรือยาเสพติดทุกอย่าง ใครเสพส้องกับมันเพียงครั้ง
เดียวก็อยากข้องเกี่ยวกับมันเรื่อยไป

     “กามตัณหา” เป็นเรื่องสกปรกที่สุดเรื่องหนึ่งใน
โลก ในเมื่อเราจะบำเพ็ญวิถีโพธิสัตว์ก็ต้องรู้จักควบคุม
ระหว่างสามีภรรยากัน ก็ให้เป็นไปตามจริยธรรมความ
เหมาะสม กามตัณหาเกิดขึ้นเมื่อใดเหมือนไฟเผาอะไร
ก็ยั้งไม่อยู่ จึงมีตัวอย่างผู้บำเพ็ญอยู่ในป่าเขาจนใกล้จะ
บรรลุอรหัตตผลอยู่แล้ว พอกามตัณหาเข้าครอบงำก็
เสพกามกับลิงกับแพะ ฯ
 
     การควบคุมเมื่อเกิดอารมณ์กามตัณหา ให้ใช้วิธี
ดับไฟ ไม่ก่อไฟในใจ ไม่กินอิ่มเกินไป ปกติอยู่บ้านให้เดิน
เท้าเปล่าบ้าง ใต้เท้าสัมผัสความเย็นของพื้นบ้านจะช่วย
ลดไฟราคะได้ ระวังพฤติกรรมอันเป็นเหตุเย้าแหย่ ยั่วยุ
ไม่มีอะไรดีกว่าหลีกเลี่ยงไปให้พ้น ไม่ดูนิตยสาร หนังสือ
หรือภาพยนตร์ประเภทลามก ไม่เข้าใกล้แหล่งโลกีย์

     อย่าให้ภาพเหล่านั้นแปดเปื้อนนัยน์ตาของเจ้าได้
นัยน์ตาของผู้ชายทำชั่วเรื่องนี้กันมาก ตายแล้วนัยน์ตา
จึงเน่าก่อน ปัญหาครอบครัวก็เริ่มมาจากนัยน์ตาที่ชอบ
หาของสดคาวนี่เอง รักษาจิตให้สงบบริสุทธิ์เสมอ อ่าน
หนังสือธรรมะสวดท่องคัมภีร์บ่อย ๆ เช่น วิสุทธิสูตร
ปารมิตาหฤทัยสูตร สัจคัมภีร์พระศรีอาริย์

     เกิดอารมณ์เมื่อไรให้ระงับทันที เช่นนี้จึงจะค่อย
เบาบางลง ขึ้นหนึ่งค่ำ สิบห้าค่ำข้างจีน วันพระวันโกน
วันเฉลิมวันสำคัญของพระพุทธะ พระโพธิสัตว์ พระอริย
เจ้าพระองค์ต่าง ๆ อีกทั้งในระหว่างสี่สิบเก้าวันที่พ่อแม่
ปู่ย่าตายายเสียชีวิตให้รักษาศีลถือ พรหมจรรย์

     แม้พวกเจ้าจะบำเพ็ญอยู่กับครัวเรือน มิได้ออก
บวช แต่อาจารย์ก็หวังให้พวกเจ้ารักษาศีลได้บริสุทธิ์
ดำเนินรอยตามปฏิปทาพระโพธิสัตว์ กายใจจะได้สำ
รวมบำเพ็ญเป็นกระแสเดียวกัน บำเพ็ญอยู่กับครัวเรือน
ให้สร้างคุณสัมพันธ์กับคนในบ้าน การไม่ได้แต่งงานมิได้
แสดงว่าเสียสละตนเพื่องานธรรม

     หญิงสาวจะต้องรู้จักจัดการกับงานบ้านของพ่อ
แม่ขณะนี้ให้ดีก่อน ที่จะไปเริ่มต้นจัดการครอบครัวใหม่
หัวปักหัวปำทำแต่งานธรรมะอย่างเดียว ไม่เรียกว่าเสีย
สละเพื่องานธรรม ทุกคนในครอบครัวเคยเกี่ยวกรรมกับ
เจ้ามาก่อนทำยังไงจึงจะให้กรรมนั้นสิ้นสุดลง อย่างไม่
ร้าวฉานได้ มิใช่ให้หลีกหนี เจ้าคิดว่าจะทิ้งภาระนั้นให้
ใครดูแล

      เจ้าเป็นลูกโทนคนเดียว พ่อแม่และกิจการทาง
บ้านเจ้าเห็นเป็น “เครื่องพันธนาการ” เจ้าไปส่งเสริม
ใครๆ ให้ละวางพันธนาการต่าง ๆ แต่ “เครื่องพันธนา
การ” ของเจ้าเองละ ใครจะเป็นผู้ไปส่งเสริม หรือเจ้ามัก
จะเห็นว่าพ่อแม่ลูกกันเป็นเช่นห่อสัมภาระ

     เจ้าสอนให้ใคร ๆ วางลง หันหลังให้กับพ่อแม่อย่าง
เด็ดเดี่ยว เจ้าส่งเสริมเขาอย่างนี้หรือ เจ้าสอนให้เขาวาง
พันธนาการนั้นลงไปปฏิบัติโพธิสัตว์ปฏิปทา ถามหน่อย
เถอะ กรรมที่เกี่ยวกันมาสิ้นสุดลงอย่างราบเรียบแล้ว
หรือยัง ผู้ที่หันหลังให้กันไม่ใช่ตัวของเจ้าเอง เจ้าจึงพูด
ได้ง่าย ๆ

     การเป็นสามีภรรยากันล้วนมีเหตุปัจจัย ให้มา
ลบล้างกรรมนั้นต่อกัน อย่าได้ชื่นชมชีวิตคู่ของใครว่า
ดีนักแล้วชักนำให้เขาแต่งงานกัน และก็อย่าได้คัดค้าน
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการแต่งงานของใคร เขาจะต้อง
ลบล้างกรรมนั้นต่อกัน ให้เขาเป็นไปตามธรรมชาติ เจ้า
มีหน้าที่เพียงชี้แนะให้เขาทำในสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น
 
     ถ้าหากเจ้า เป็นลูกสาวคนเดียวของครอบครัว
เจ้าอยากสำเร็จเป็นโพธิสัตว์ เจ้าปฏิบัติงานธรรมสร้าง
บุญทุกวัน แล้วแม่ของเจ้าล่ะต้องสำเร็จเป็นโพธิสัตว์
ไหม เจ้าทิ้งแม่ให้นอนป่วยอยู่กับบ้านทุกวัน แม่ตกนรก
แต่เจ้าขึ้นสวรรค์ บัลลังก์บัวเจ้าจะนั่งได้สบายไหม

    เจ้ากินเจแต่แต่งงานไปอยู่บ้านที่ไม่ได้กินเจ จะ
ต้องรู้ว่าเป็นกรรมเก่าที่เจ้าเกี่ยวพันกับเขามา เจ้าเป็น
สะใภ้เป็นภรรยา ไม่ทำกับข้าวให้เขากิน จะให้ใครทำ
ถ้าจำใจต้องทำอาหารเนื้อสัตว์ก็ให้แผ่เมตตากล้าเผชิญ
ว่า “ฉันไม่ลงนรกใครจะลงนรก”

    ค่อย ๆ ส่งเสริมเขาไปอย่าใช้ไม้แข็ง สักวันหนึ่ง
ทุกคนในครอบครัวอาจกินเจร่วมกับเจ้าด้วยก็ได้ สังคม
ปัจจุบันน่าสงสารสามีภรรยาเลิกร้างกันมาก หากเจ้ามี
ชีวิตคู่ที่อยู่ดีมีสุข อย่าได้โอ้อวดต่อคนที่ชีวิตคู่ล้มเหลว
  
     เตี่ยนฉวนซือมิให้เป็นพ่อสื่อแม่สื่อ ไม่ให้เป็นเถ้า
แก่เป็นพยานการแต่งงานของใคร เพราะเตี่ยนฉวนซือ
ถือปณิธานข้อพิเศษสำคัญยิ่ง สามีออกไปปฏิบัติงาน
ธรรมให้รู้จักขอบคุณศรีภรรยา เธอเป็นแม่บ้านหุงหาอา
หารเลี้ยงดูลูกทำงานบ้านทุกอย่างให้ ให้รู้จักยกย่อง
เอาใจใส่ตอบแทนคุณของเธอ

     พ่อแม่ยังไม่เข้าใจวงการธรรมะ ด้วยคววามรัก
อยากปกป้อง จึงห่วงใยที่ลูกออกไปปฏิบัติงานธรรม
อาจพูดจาว่ากล่าว หรือขัดขวางอย่างนี้ไม่ใช่มารทด
สอบให้ค่อย ๆ ออกมาปฏิบัติงานธรรมอย่างนิ่มนวล
หนุ่มสาวผู้ปฏิบัติบำเพ็ญ จะต้องรักนวลสงวน
ตัว จะแต่งงานจะต้องขออนุญาตจนพ่อแม่ยินยอมเสีย
ก่อน หลังจากทำพิธีกราบไว้บรรพบุรุษแล้ว จึงจะเป็น
สามีภรรยากันได้

     ตำหนักพระเป็นสถานที่สูงส่ง อย่าได้อาศัยเป็น
สถานที่หาคู่ เรื่องของครอบครัวเกี่ยวข้องกับศีลข้อนี้
อาจารย์จึงยกตัวอย่างให้ฟัง

     ผสมพันธุ์สุนัขไปขาย ไม่ดีไม่งามไม่ควรทำ ขี่ม้า
เลนไม่ดีเป็นการกดขี่สัตว์อย่างหนึ่ง ทั้งแรงสะเทือนยัง
อาจก่อให้เกิดอารมณ์ราคะ ซื้อขายค่าตัวหญิงโสเภณี
มีความผิดทางคุณธรรม ล่วงเกินภรรยาของเพื่อน กรรม
นั้นจะตามสนอง

     สะใภ้ด้วยกันและพี่น้องของสามี มิให้อิจฉาหา
ความกัน มิฉะนั้นชาติหน้าจะได้ภรรยาปากจัด หาคู่
ครองต้องรู้ให้ชัดว่าเขามีคู่อยู่หรือเปล่า ถ้ามีอยู่ก็จงตัด
ใจคิดเสียว่าไม่มีบุญร่วมกันแม้รูปสวยแค่ไหน ก็ไม่เอา
มีคู่อยู่แล้วอย่านอกใจ

     ทุกคนล้วนอยากมีสามีภรรยาที่อบอุ่น มั่นคงทั้ง
นั้น เอาใจเขามาใส่ใจเรา แล้วเจ้าก็จะไม่ทำลายชีวิตคู่
ของผู้อื่น ปฏิบัติงานธรรมก็ต้องให้เวลากับครอบครัว
บ้างอย่าให้เขากล่าวโทษว่า “พระโพธิสัตว์กวนอิมชิง
สามีของฉันไป” “พระพุทธจี้กงหลอกเอาภรรยาของ
ฉันไป” ขอร้องทีเถอะ อาจารย์ไม่เคยสอนให้เจ้าหมกอยู่
ในตำหนักพระทุกวันเลย

     ถ้าถึงขึ้นสุดท้าย สามียื่นคำขาดไม่ให้เจ้าออกมา
ไหว้พระอีก ภรรยาไม่ทำอาหารให้กิน ไม่สนใจอะไร
ทั้งสิ้นปัญหาก็จะตามมา บำเพ็ญอยู่กับครัวเรือนจะ
ต้องทำให้ครอบครัวสมบูรณ์พูนสุข ไม่ใช่ให้แตกแยก
ไม่ใช่หมกตัวอยู่กับตำหนักพระ แล้วถือว่าศรัทธาจริงใจ
คนที่ไม่ค่อยได้มาตำหนักพระ แต่ที่บ้านของเขาสะอาด
เรียบร้อยทุกคนในบ้านสมัครสมาน ยิ้มแย้ม แจ่มใส
ทุกเวลา
  
     แสดงว่า เขาได้นำเอาธรรมะกลับไปปฏิบัติบำ
เพ็ญในครัวเรือนแล้ว ด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง
กามตัณหาเป็นต้นตอของการเกิดตาย ผู้บำเพ็ญวิถีโพธิ
สัตว์ถ้าไม่ตัดอารมณ์นี้ แต่สำรวมกายได้จะหมายถึงผู้
ปฏิบัติมนุษยธรรมเท่านั้น

     ผลแห่งการสำรวม ทำให้ไม่ต้องเวียนว่ายใช้หนี้ใน
วิถีบาป คือ เปรต เดรัจฉาน วิญญาณนรก เกิดชาติใหม่
จะได้ครอบครัวบริวารดี สุขกายสุขใจได้บำเพ็ญร่วมกัน
ช่วยกันดำเนินวิถีชีวิตคนได้อย่างสมบูรณ์

     พระโพธิสัตว์ล้วนกลัวเหตุอันเกิดจากกามตัณหา
จึงตัดขาดเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง

     ผู้ละกามตัณหาได้ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่
เร่าร้อน เกิดฌานสมาธิปัญญาได้ง่าย

     ผู้ละกามตัณหาได้ จะเกิดในตระกูลดี พ่อแม่มี
ศักดิ์ศรี พี่น้องปรองดอง คู่ครองอุ้มชูกัน ลูกหลานกตัญญู
เพื่อนพ้องจริงใจต่อกัน

     ผู้ละกามตัณหาได้ จะเป็นชื่นชมของเทพยดาฟ้า
ดิน เป็นที่เคารพยกย่องของคนทั้งหลาย แม้บำเพ็ญ
สำเร็จไป จะได้พุทธะลักษณะสมบูรณ์งดงาม

     ผู้บำเพ็ญแต่โบราณมา ล้วนเห็นกามตัณหาเป็น
ศัตรูตัวร้าย เมื่อเห็นเหตุอันเป็นตัวยั่วเย้า จะหลีกลี้หนี
ไปให้พ้นทันทีเหมือนเผชิญกับหอกดาบคมกริบ อัน
พร้อมที่จะทำให้บาดเจ็บถึงตายได้เช่นนั้น

    มีอุทธาหรณ์คำเตือนว่า
    “แม้ชายชาญแสนหาญกล้า จะเชือนหน้าหญิง
งามลำบากนัก”

    “ผู้ยอมตายภายใต้ดอกโบตั๋น แม้เป็นผีใน
โลกันต์ก็ยังเริงชื่นชู้”
 

คัดลอก จาก บำเพ็ญขัดเกลาพุทธจิต


          *** เสียใจแล้ว จึงรู้ผิด ***

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ศีลห้า บทลักขโมย โดย พระอรหันต์จี้กง

                       บทลักขโมย

    การลักขโมยอย่างลับ ๆ จี้ปล้น โจรกรรม หยิบ
ฉวยซึ่ง ๆ หน้า หลอกลวง อำพรางใช้เล่ห์เพทุบาย (เช่น
ลวงสวาท ล่อลวงคนไปขาย) ใช้อำนาจขู่เข็ญบังคับถือ
สิทธิ์เอาประโยชน์โดยมิชอบ (เช่น เก็บค่าคุ้มครองฯ)
ยักยอก เบียดบังบิดเบือน (เช่น ยึดเอาของฝากผ่านมือฯ)
เหล่านี้ล้วนผิดศีลลักขโมย

    มีโรคภัยแล้ว มากราบไหว้ขอให้พระคุ้มครอง
รักษาแต่ไม่ได้เอาธูปเทียนของตัวเองมา ถือวิสาสะหยิบ
เอาจากโต๊ะบูชา อย่างนี้แทนที่จะสร้างบุญชดใช้บาป
เวรกลับกลายเป็นลักขโมยของพระเสียอีก

    ธูป น้ำมัน เครื่องบูชา มีคนนำมาถวายหรือใช้
ไม่หมดทิ้งไว้ถือเป็นสมบัติของตำหนักพระ อย่าจาบจ้วง
ถือวิสานะเอาไปใช้ จะจุดธูปกำใหญ่ภาวนาเฉพาะตัว
เพื่อความสบายใจ ให้นำเครื่องบูชามาเอง

    โทรศัพท์ของตำหนักพระส่วนรวม มิใช่สิทธิของ
เตี่ยนฉวนซือ ถันจู่ หรือใครผู้ดูแล จะอนุญาตให้ใช้ฟรีได้
ใช้โทรศัพท์ทีไรไม่ว่าโทรใกล้ไกล ถ้าไม่ใช่เครื่องโทรศัพท ์
หยอดเหรียญเอง จะต้องจ่ายค่าโทรตามอัตราค่าโทร
ทุกครั้ง

    ผู้ทำหน้าที่ในโรงครัวต้องระวัง ปรุงอาหารชิม
ให้รู้รสคำเดียวก็พอ ปรุงเสร็จแล้วยังไม่ถึงเวลา อย่า
ตักไปกินเองเสียก่อน ข้าวของทุกอย่างญาติธรรมเขา
อนุโมทนามา แม้เจ้าจะร่วมบริจาคด้วยก็ต้องรักษา
ระเบียบนี้ ข้าวของซื้อเข้ามามอบให้เป็นสมบัติของ
ตำหนักพระแล้ว ไม่ให้กลับหอบหิ้วออกไป จะเป็นการ
ลักขโมยของพระ

    แต่ถ้าเสร็จงานประชุมแล้ว กับข้าวเหลือไว้จะ
บูดเน่าเสียเปล่า แบ่งปันกันไปไม่เป็นไร วันหน้าซื้อของ
ใหม่มาถวายชดเชยก็ได้ ผลไม้ซื้อมาบูชาพระ ไม่ให้เอา
มากินก่อน สมบัติของพระไม่ให้ถืออภิสิทธิ์กินเองหรือ
ให้ใครกินก่อนที่จะถวายพระเสร็จเรียบร้อย ของส่วน
ตัวซื้อเข้ามาเพื่อกินเองไม่เป็นไร

    ญาติธรรมบริจาคเงินบ่งชัดว่า จะช่วยค่าใช้จ่าย
ประจำเดือน ช่วยงานบุกเบิกแพร่ธรรม พิมพ์หนังสือ
ธรรมะหรือใช้จ่ายอะไรในตำหนักพระ จะต้องจัดให้
เป็นไปตามเจตน์จำนงของเขาอย่างถูกต้องชัดเจน

    เครื่องใช้ทำความสะอาดในตำหนักพระ ต้องรัก
ษาความสะอาดเป็นของจำเพาะ ต้องแยกออกจาก
เครื่องใช้ของครัว ของห้องน้ำห้องส้วมไม่ให้ปะปนกัน

    ธูปหรือดอกไม้บูชาพระ อย่าเอามาดมก่อนบูชา
เป็นการจาบจ้วง เป็นการล่วงเกินไม่เคารพ

    ข้าราชการ พนักงาน หยิบฉวยซองจดหมาย
กระดาษเขียนจดหมายของที่ทำงาน ไปใช้ส่วนตัวถือ
ว่าลักขโมย

    ผู้บำเพ็ญจงระวังให้มาก ถ้าเป็นของส่วนราชการ
เท่ากับขโมยทรัพย์สินของประชาชนผู้เสียภาษี สอนผู้
อื่นให้หลีกเลี่ยงหรือหนีภาษี หรือใช้วิธีโทรศัพท์สาธา-
รณะโดยไม่กินเงิน เป็นการขโมยทรัพย์สินของหลวง

    กฎระเบียบของการไปรษณีย์ มิให้สอดแทรกเอก
สารหรือสิ่งอื่นควบกันไป ถ้าแอบละเมิดเอาประโยชน์
ก็ถือว่าผิดศีลข้อลักขโมย สิ่งพิมพ์ที่คิดค่าส่งไปรษณีย์
ในอัตราต่ำ อย่าแอบสอดจดหมายส่งไปด้วย ผู้แนะนำ
ให้ทุจริต และผู้ทำตามมีบาปฐานลักขโทยของหลวง
ร่วมกัน

    โดยสารรถเมล์ เรือเมล์ เพิกเฉยเมื่อเขาลืมเก็บ
ค่าโดยสาร หรือหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าบัตรผ่านประตูก็
เข้าข่ายลักขโมย หากลักขโมยเอาคนยากจนเข้า เขา
ทุกข์ร้อนจนเสียชีวิต เสียผู้เสียคน โทษบาปนี้เท่ากับลัก
ขโมยและฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ผิดศีลทั้งสองข้อ

    เวลาซื้อของตกลงกับผู้ขายให้เขาลดราคาลงแล้ว
ไม่ต้องให้เขียนใบเสร็จรับเงิน การหลีกเลี่ยงภาษีอย่างนี้
ก็เท่ากับขโมยของหลวง

    ในศีลห้า เรื่องลักขโมยเป็นเรื่องละเอียดมากและ
บำเพ็ญได้ยากที่สุด บางอย่างเผลอไปใจหยาบก็ผิดทันที
ถ้าอาจารย์จะว่ากันให้ละเอียด เจ้าก็จะรำคาญว่าได้นั่น
ไม่ได้ไอ้นี่ก็ไม่ถูก ไม่เอาแล้ว หนีไปอยู่อเมริกาเสียให้รู้
แล้วรู้รอดไป จะได้ไม่ต้องฟัง ถ้าเจ้าไม่ฟังไม่ทำตามเจ้า
ก็จะรักษาบุญวาสนาไว้ไม่อยู่

    ทุกคนเมื่อมาถึงตำหนักพระ ก็หวังว่าจะได้เพิ่ม
พูนบุญกุศลกัน แต่ถ้าไม่ระวังกลับทำให้บุญกุศลรั่วไหล
ไปก็น่าเสียดาย

    “ต้นคิดจิตกระจายเหมือนควายขน แต่มรรคผล
เทียบได้ควายสองเขา”

    จิตที่โลภโกรธหลงฟุ้งซ่าน กระจายเหมือนวัว
ควายขนเต็มตัว แต่ผู้จะบรรลุอริยมรรคได้มีน้อยนัก
ดังเขาควายเมื่อเทียบกับจำนวนเส้นขนบนตัวควาย

    ผู้เพียรวิถีโพธิสัตว์อย่างแท้จริง จะไม่กลัวความ
ยุ่งยาก แม้จะอยู่ท่ามกลางสภาพบ้านเมืองวุ่นวายจอ
แจก็สามารถจะแปรเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องทำให้
จิตใจเศร้าหมองวุ่นวายให้เป็นพุทธะอันเบิกบานได้

    ผู้บำเพ็ญเพื่อเอาตัวรอดเฉพาะตนเท่านั้น จึง
จะหลบไปอยู่ตามป่าเขาอันวิเวก เพราะกลัวจะถูก
สภาพแวดล้อมยั่วย้อมเอา ผู้บำเพ็ญวิถียานระดับสูง
จะต้องใช้ปัญญาแยกแยะควรทำอย่างไร ไม่ควรทำ
อย่างไร การล่วงละเมิดทรัพย์สิ่งของบางกรณีไม่ถือ
ว่าลักขโมย เช่น สำคัญผิดว่าเป็นของตน เช่น ร่มกัน
ฝนคล้าย ๆ กัน วางรวมกันไว้เร่งรีบจะออกไปคว้าได้
ของคนอื่นโดยไม่พันพิจารณาว่าเก่าใหม่กว่ากัน ฟังผิด
เข้าใจผิดว่าเขามอบให้ โดยมิได้ใฝ่ใจอยากได้มาก่อน
เก็บเอามาเพราะเข้าใจผิดว่าเขาทิ้งแล้ว เมื่อเห็นเขา
กองรวมอยู่กับเศษขยะ

     ใช้โทรศัพท์บ้านใครที่เขาอนุญาตให้ใช้ได้ แล้ว
หยิบดินสอกระดาษบนโต๊ะมาจดข้อความ เมื่อกลับออก
มาปรากฏว่าหยิบดินสอของเขาติดมือมาด้วย อย่างนี้
ไม่ถือว่าลักขโมย แต่ต้องนำกลับไปคืนหรือบอกกล่าว
เจ้าของซึ่งแล้วแต่ความสนิทชิดชอบกันแค่ไหน

    ไปบ้านเพื่อนที่รักใคร่คุ้นเคยกัน จึงถือวิสาสะเปิด
ตู้เย็นเข้าครัวหาอะไรกินด้วยความเคยชิน แม้มิใช่
เจตนาลักขโมย แต่ก็เข้าข่ายมักง่ายไม่สำรวม ล้มแชร์
เบี้ยวแชร์ก็เป็นลักขโมย ชาติหน้าจะต้องเกิดเป็นสุกร
สุนัข หมูตัวหนึ่งค่าตัวกี่พัน เป็นหนี้เขากี่พัน จะต้องเกิด
ชดใช้กันจนกว่าจะครบจำนวนเงินที่เป็นหนี้เขา

    การลักขโมยมีโทษบาปหนักเบาต่างกัน ลักขโมย
ของตำหนักพระบาปหนัก เพราะเป็นสมบัติร่วมของ
ญาติธรรมอันเป็นคุณต่อผู้บำเพ็ญ มีคำกล่าวว่า

    “เพิ่มพูนบุญวาสนาได้ในประตูไตรรัตน์ วาสนา
อันไม่จำกัดเกิดจากหนึ่งเมล็ดพันธุ์บุญ”

    การสร้างบุญกับอาณาจักรธรรม วาสนาบารมีจึง
แผ่ไพศาลไปทั่วธรรมธาตุ เป็นคุณแก่ผู้บำเพ็ญทั้งสิบทิศ
เช่นเดียวกันในทางตรงกันข้าม การทำบาปในอาณา
จักรธรรมก็เกิดขึ้นได้ง่าย จึงให้ระวังแม้หนึ่งเล่มเข็ม
หนึ่งเส้นด้าย ก็มิให้จาบจ้วงฟุ่มเฟือยเสียหาย

     ถ้ามีเหตุต้องเอาไปใช้ หลังจากนั้นก็ให้บริจาค
กลับคืนมา ให้กู้เงิน รับจำนอง จำนำ ค้าเงินด้วยวิธีใด
ก็ตามที่ขูดรีดคิดดอกเบี้ยราคาสูง ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
ขัดสนทำให้เขาลำบากยิ่งขึ้นก็ถือว่า ผิดศีลข้อนี้

     การบริจาคทานใดๆ อย่ายึดมั่นว่า “ฉันให้” เงิน
จำนวนเล็กน้อยอาจจะไม่ยึดมั่น เป็นแสนเป็นล้านนั้น
ไม่แน่ จรวดเมื่อยิงออกไปในอวกาศจะต้องให้หลุดพ้น
จากแรงกรรมจึงให้วางใจลงไม่ยึดมั่นต่อไป ความโลภ
โกรธ หลง เป็นกระแสเกิดตายเรื่อยไปผู้ปฏิบัติบำเพ็ญ
จึงต้องทวนกระแสเกิดตายให้ได้ศึกษาธรรมก็คือ เรียนรู้
วิธีการทวนกระแสนี้

    ผิดศีลข้อ ฆ่าสัตว์ฯ ลักขโมย พูดปดมักมาก
ในกามทั้งสี่ข้อนี้ จะต้องไปเกิดในวิถีบาป คือ เปรต
เดรัจฉาน ผีนรก จะต้องชดใช้กรรมนั้นจนกว่าจะ
หมดสิ้น แล้วจึงได้เกิดเป็นคนต่อไป หากได้เกิดกาย
เป็นคนจะยากจนตกต่ำ เพราะชาติก่อนลักขโมยเขา
มามาก

     หากมีเงินทองมากมายแต่มิได้เสพสุข เพราะชาติ
ก่อนทำบุญให้ทานแล้วนึกเสียดายในภายหลัง ชาติ
นี้จึงไม่ได้จับจ่ายใช้สอยอย่างสบายใจ ข้าวของเงิน
ทองมักเสียหาย ค้าขาย ขาดทุน ใครเคยผิดศีลข้อ
ลักขโมย เมี่อเงินทองข้าวของใครเสียหาย มักจะตก
เป็นผู้ต้องสงสัย ใครเคยผิดศีลข้อลักขโมยมากกายใจ
มักจะไม่สงบสุข ลูกจะผลาญสมบัติ หรือต้องจ่ายเงินเป็น
ค่าหมอค่ายารักษาตัวเสมอเป็นคนกระวนกระวาย นั่ง
นอนไม่สบาย

     ผู้รักษาศีลข้อลักขโมย จะเป็นผู้รักษาทรัพย์สิน
เงินทองไว้ได้ ผู้คนเคารพยกย่องไว้วางใจรักษาศีลได้
บริสุทธิ์จะเป็นผู้มีเกียรติคุณ เราผู้บำเพ็ญจะต้องรู้จัก
เชิดชูผู้อื่น มองผู้อื่นด้วยสายตาเป็นธรรม ไม่นินทาว่า
ร้ายแคะได้ความผิดเขา เขาทำไม่ดีเป็นกรรมของเขา
เอง เจ้าเอาเขามาวิจารณ์ปากของเจ้าก็ไม่บริสุทธิ์เสีย
แล้ว อีกทั้งยังเกี่ยวกรรมเขาไปด้วย

    เตี่ยนฉวนซือจะไม่ดีอย่างไรก็ตาม แต่เขาตัดเรื่อง
กามได้ จิตใจส่วนนี้ก็สมควรยกย่องแล้ว เหมือนสมณะ
นักบวชที่ปลงผมห่มจีวรได้ก็สมควรยกย่องแล้ว เขาจะ
ได้บำเพ็ญหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องของเขาตัวเราเองให้
รักษาจิตใจชื่นชมเขาได้ทุกขณะจะไม่ผิด ถ้าใจเป็นกลาง
พิจารณากล่าวอ้างถึง เพื่อการเสริมสร้างอย่างนั้นไม่ถือ
เป็นนินทาว่าร้าย

    ผู้ไม่ผิดศีลลักขโมย ไม่ว่าอยู่กับคนกลุ่มใดสถาน
ใดจิตใจก็เบิกบานไม่ลับล่อส่อพิรุธ ไม่มีใครกล้ารังแก
ผู้ไม่ผิดศีลลักขโมย ไม่มีอนุสัยนอนเนื่องเรื่องนี้ไม่มี
สัญญาความจำเรื่องนี้ ไม่มีแรงกรรมนำหนุนผลักดัน
เมื่อตายจึงปลอดโปร่งจิตวิญญาณจะไปสู่สุคติได้ เมื่อ
เกิดความคิดมิชอบให้ถามจิตตนเองทันทีว่าควรหรือไม่
ระวังอย่าให้แปดเปื้อน

    มิจฉาทิฐิเหมือนหินผาสกัดยาก โทสะจริต
เหมือนเพลิงไฟ ยิ่งร้อนแรงกันเท่าไร อัคคีภัยสงคราม
ก็เกิดตามมาไม่สิ้น รักษาศีลห้า เทพยดาห้าพระองค์จะ
ปกป้องดูแลแต่ละศีลแต่ละพระองค์ รักษาได้บริสุทธิ์
จะหลุดพ้นการเวียนว่ายได้ง่าย การบำเพ็ญจะก้าว
ไปได้ราบรื่นรวดเร็ว อวิชชาเป็นเพลิงไฟเผาไหม้จิต
วิญญาณ เผาผลาญบุญกุศล ปลูกบุญทานเหมือนปลูก
ต้นไม้ทีละต้น อวิชชาเกิดขึ้นเมื่อใดก็เผาไหม้หมดป่า
ในพริบตาเดียว


คัดลอกจาก  บำเพ็ญขัดเกลาพุทธจิต 

 ** แม่น้ำ ทะเล  และมหาสมุทร  ไม่มีที่สิ้นสุดฉันใด
   กิเลส ตัณหาของมนุษย์ ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุดฉันนั้น **







วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ศีลห้า บทฆ่าสัตว์ตัดชีวิต โดย พระอรหันต์จี้กง

     “ศีล”เป็นรากฐานเบื้องต้นที่จะพาคนให้พ้นเวียน
ว่าย มิรู้จักถือศีลเจ้าจะทำผิดกันมากมาย ไม่ถือศีล
เหมือนมีรายรับไม่พอกับรายจ่าย จึงต้องใช้ศีลมาเป็น
กรอบบังคับให้ทำความผิดกันน้อยลง ไม่ว่าใครบำเพ็ญ
ในสายใด ล้วนแต่จะต้องรอบคอบระวังรักษาศีล ให้กาย
วาจา ใจบริสุทธิ์


      เราบำเพ็ญปฏิปทาพระโพธิสัตว์กันก็จะต้องระวัง
แม้สิ่งละเอียดเล็กน้อย มิฉะนั้นทุกขณะที่เกิดความคิด
จิตสำนึกของเจ้าก็จะไม่บริสุทธิ์ ธรรมปฏิบัติมีหลาย
แนวทาง ที่เหมือนกันคือการถือศีล ไม่ว่าจะเป็นลัทธิใด
“ศีล” จะเป็นธรรมปฏิบัติร่วมกันอย่างแน่นอน ฉะนั้น

วันนี้อาจารย์จึงจะพูดเรื่อง “ศีล” ให้พวกเจ้าเข้าใจให้
ไปรักษากันเอาไว้ ไม่ใช่ให้รักษาเพียงปณิธานสิบรหัส
คาถาแล้วก็จะพ้นเวียนว่ายตายเกิด



     ถ้าเอาแต่ท่องทุกวัน แต่ไม่ตัดตัว “ต้นคิด” ไม่ตัด
รากเหง้าของความผิดบาปทั้งหลายก็จะเข้าข่าย
 

    “ดายหญ้าไม่ขุดรากเหง้า ลมฝนพัดเจ้าก็แตก
ยอดดอกใบ”


     รากเหง้าของความผิดบาป จะต้องตัดขาดขุดถอน
ให้สิ้นโดยเด็ดขาด อริยวิสัยในตัวของเจ้า (จิตพุทธะ)
จึงจะเจริญวัยปัญญาของเจ้าจึงจะเบิกบานแจ่มใส ศีล
สมาธิ ปัญญา ศีลนำมาก่อน การได้พบวิถีธรรมหนทาง
ตรงในยุคสุดท้ายนี้ เนื่องจากรากฐานของเหล่าเวไนย
ค่อนข้างหยาบ จึงไม่อาจเห็นจิตเดิมแท้ของตนได้ทันที
ไม่อาจสำรวมรักษาตนให้บริสุทธิ์ได้ จำต้องอาศัยศีล
เป็นครู 


     เมื่อไม่อาจใช้จิตเดิมแท้เป็นตัวรู้ได้ จึงต้องใช้
เป็นครูนำทาง ถือศีลช่วยให้ครอบครัวเป็นสุขสามีภรร
ยาต่างถือศีล ความผิดเรื่องชู้สาว เหล้ายา อบายมุข
ย่อมไม่เกิดขึ้น ทุกคนในสังคมถือศีล บ้านเมืองไม่ต้องมี
สถานีตำรวจ โรงศาล ไม่ต้องใช้กฎหมายควบคุม อยาก
ให้สังคมสงบสุข ทุกคนจะต้องถือศีลอาศัยศีลควบคุม
ตน
 

     ถือศีลช่วยให้เจ้าหลุดพ้น ศีลไม่ใช่เครื่องผูกมัด
จำกัดเจ้า แต่ศีลเหมือนรางรถไฟ หากเจ้าแล่นออก
นอกรางก็จะอันตราย ศีลเป็นขอบเขต เมื่อเจ้าออกนอก
ขอบเขต สัญญาณไฟแดงจะเตือนภัย ทำผิดไปจาก
ความเป็นคนก็คือ ละเมิดศีล

 
     เสรีภาพ คือ ความเป็นตัวของตัวเองที่ไม่เป็นภัย

ต่ออิสรภาพของผู้อื่น จึงต้องอาศัยศีลมาควบคุม
 

     ถ้าทุกคนมีเมตตากรุณาประจำใจ ศีลก็ไม่มีผล
อะไรสำหรับเจ้า
 

     ถือศีล คือ กำหราบตนเอง เสริมสร้างตนเองให้เกิด
เมตตากรุณา กำหราบตัวเองไม่ให้เพ้อเจ้อ ไม่ลักขโมย
ไม่โลภอยาก ไม่เมาสุราขาดสติ ไม่มักมากในกาม
 

     ศีลช่วยให้เจ้าเดินเข้าสู่สัมมาสัมโพธิมรรค อย่า
เห็นศีลเป็นเครื่องผูกมัดพันธนาการ และอย่าเอาศีลมา
เป็นเครื่องวัดระดับการบำเพ็ญ หรือพิจารณาหาความ
ผิดของคนอื่น เขาบังเกิดกุศลจิตจะรักษาศีล ให้เขา
ค่อยๆ ปรับสภาพไป


     ในอดีตชาติที่ผ่านมา เราต่างปลูกเมล็ดพันธุ์อัน
เป็นเหตุและผลมากมายในสัญญาความจำ พอกพูน
ไว้นานเหลือเกินแล้ว จึงยากที่จะกำจัดไป ทุกคนต่าง
มีอารมณ์มีอนุสัยที่นอนเนื่องแฝงอยู่นี่คือ จุดบกพร่อง
จึงต้องอาศัยศีลค่อย ๆ ปรับสภาพ ค่อย ๆ กำหราบตัว
เจ้าเอง
 

     อย่าได้กลัวการถือศีล สำหรับผู้บำเพ็ญ ศีลเป็น
บันไดที่จะต้องก้าวขึ้นไป เพื่อมุ่งสู่วิถีโพธิสัตว์ เจ้าสร้าง
บุญกุศลกันโดยไม่เข้าใจ “ศีล” เท่ากับเสี้อผ้าเปื้อนที่

ยังไม่ได้ซัก เอาออกมาใส่ทีไรรอยเปื้อนก็ยังคงอยู่ อนุสัย
ในแต่ละชาติของชีวิตที่ได้สั่งสมไว้ มิได้ขจัดไปมันนอน
เนื่องอยู่ในสันดาน เหมือนเมล็ดพันธุ์ที่ฝังอยู่ในผืนนา
ได้รับแสงแดดก็จะแตกใบงอกงามขึ้นมาใหม่จึงกล่าวว่า
    

     “ดายหญ้าไม่ขุดรากเหง้า ลมฝนพัดเจ้าก็แตก
ยอดดอกใบ”

     การจะกำจัดวัชพืชในจิตใจ ต้องอาศัยถือศีลเป็น

หลักจึงจะถึงรากถึงโคน


             บทฆ่าสัตว์ตัดชีวิต

     มีคนพูดว่า “ฉันไม่ได้ฆ่าคนอื่น ฉันฆ่าตัวเอง ฉัน
มีสิทธิ์” ที่ฆ่าตัวตาย ในสัญญาความจำที่สืบเนื่องมาจาก
อดีตชาติมันฝังเมล็ดพันธุ์ของการฆ่าตัวตายไว้แล้ว เกิด
ชาติต่อมาจึงมีอารมณ์อยากฆ่าตัวตาย ฉะนั้น ให้ระวัง
อย่าให้เกิดความคิดนี้ ใครที่ฆ่าตัวตายได้สำเร็จ อย่าง
น้อยจะต้องฆ่าตัวตายเรื่อยไปถึงเจ็ดครั้ง


     คำว่า ฆ่าตัวตาย จะต้องหมายความว่า ฆ่าตัว
กิเลสตัณหาของตัวให้เหลือไว้แต่จิตพุทธะ เป็นศิษย์
พระพุทธจี้กง เป็นผู้บำเพ็ญวิถีอนุตตรธรรมสูงส่ง
เหลือเกิน กว่าจะได้เกิดกายเป็นคนนั้นยากนัก พระ
คุณของฟ้าดิน พระคุณของบ้านเมือง พระคุณของพ่อ
แม่ ครูบาอาจารย์ เบญจคุณากร ยังมิได้ตอบแทนเจ้า
มีสิทธิ์อะไรจะฆ่าตัวตาย
 

     อย่าช่วยเขาฆ่า เมื่อเห็นใครฆ่าสัตว์แล้วเจ้าพูดว่า
“ฆ่าเสียให้ตายก็ดี” “เนื้อนี้อร่อยดี” ใครเขาปรึกษาจะ
ทำแท้งถ้าเจ้าบอกว่า “ดี ดีเหมือนกัน อย่าเอาไว้เลย”
เห็นอาหารเนื้อสัตว์มากมายในงานเลี้ยง ถ้าเจ้าบอกว่า
“ดีจังเลย น่ากินจังเลย” อย่างนี้เท่ากับมีส่วนสนับสนุน
ช่วยฆ่า
 

     เจ้าถือศีลกินเจ ลูกจะแต่งงานจะจัดเลี้ยงอาหาร
เนื้อสัตว์ถ้าเจ้าบอกว่า “ตามใจ” อย่างนี้เท่ากับมีส่วน
ช่วยฆ่า เจ้าจะต้องบอกว่า “พ่อแม่ถือศีลกินเจ ย่อมไม่
สนับสนุนให้ลูกเบียดเบียนชีวิตเขา” ถ้าลูกยังขืนดึงดัน

จะเลี้ยงอาหารเนื้อสัตว์ พ่อแม่จนใจก็ได้แต่บอกว่า
“ถ้าอย่างนั้น ลูกก็รับผิดขอบเองก็แล้วกัน”


     ขายขาจีน ในพิกัดยาใส่ส่วนของสัตว์หรือแมลง
อยู่ด้วย ผู้ขายจะต้องสำนึกว่า “อย่าได้เป็นบาปเป็นเวร
แก่กันเลย มันจำเพาะเป็นยารักษาโรค” แต่อย่าแนะนำ
ให้เขาเอายาไปตุ๋น เป็ด ไก่ ฯลฯ บำรุงกำลังเป็นอันขาด
เพราะจะเท่ากับมีส่วนช่วยฆ่าด้วย


    ขายยานอนหลับ ยาประเภทกล่อมประสาทปลุก
ประสาท ฯลฯ เหล่านี้มีส่วนเกี่ยวกรรมกับการฆ่าด้วย
เขาอาจกินเกินขนาด กินผิดพลาด ทำให้ประสาทเสีย
พิการถึงตายให้ระวังให้มาก


     ผู้ตั้งปณิธานกินเจแล้ว กาย วาจา ใจ จะต้อง
สะอาด อย่าพูดพล่อย พูดให้เขาน้อยใจอยากตาย หรือ
หาทางตายไปจริง ๆ ขายของมีคมที่เป็นอาวุธทำลาย
ชีวิตได้ให้ระวัง ผู้ขายสิ่งเหล่านี้มีเหตุแห่งกรรมหนุนนำ
มาแต่อดีตชาติ ผู้บำเพ็ญมิให้ใช้เครื่องหนังสัตว์แท้ เช่น

เข็มขัด รองเท้า กระเป๋า ฯ

     ผู้สนับสนุน หรือสร้างค่านิยมเครื่องหนังแท้เท่า
กับมีส่วนช่วยฆ่า ให้ใครหยิบยืมเงินทองต้องระวัง ต้อง
รู้ว่าเขาจะเอาไปทำอะไร ไปก่อกรรมไปทำแท้งฯ เราก็
เท่ากับมีส่วยช่วยฆ่า จะร่วมบุญทานต้องพิจารณาหาก
เอาเงินไปช่วยร่วมงานบุญที่เขาล้มวัว ล้มควาย ฆ่าหมู
เป็ด ไก่ ฯลฯ เราก็ไม่พ้นมีส่วนช่วยฆ่า
 

     ร่วมบุญทานบริสุทธิ์ฉุดช่วยคนให้พ้นทุกข์เหมือน
ปลูกเมล็ดพันธุ์เมล็ดเดียวเก็บเกี่ยวได้หมื่นเมล็ด
 

     ไม่ขายเบ็ดตกปลา เบ็ดอันนี้เขาซื้อไปตกปลาได้ 
 ปลากี่ตัว ปลาเหล่านั้นก็จะมาคิดบัญชีกับเจ้า แม่บ้าน
กินเจแต่ยังต้องทำอาหารเนื้อสัตว์ให้พ่อบ้านและลูก ๆ
ถ้าจำใจต้องซื้อปลา ระวังอย่าซื้อปลาท้องไข่ จะต้อง
เกี่ยวกรรมกับเขาหลายชีวิต
 

     ผู้บำเพ็ญหญิง จึงต้องหมั่นสำนึกขอขมากรรม
เสมอ ๆ ทำไมคนเป็นโรคมะเร็งกันมากเหลือเกิน ทั้ง ๆ

ที่การแพทย์เก่งกาจก้าวหน้าถึงเพียงนี้ ไม่น่าจะมีโรค
แปลก ๆ ที่รักษาไม่หายมากมายอย่างนี้จึงจะถูก น่าจะ
สรุปผลได้อย่างเดียวว่า มันเกิดขึ้นตามแรงฆาตกรรม


ธัญญาหารจะต้องอุดมสมบูรณ์เป็นแน่ โรคภัยไข้
เจ็บก็จะลดน้อยลง ในสมัยพระอริยกษัตริย์เหยาซุ่น
สามพันกว่าปีก่อน ไม่มียาฆ่าแมลง พืชพันธุ์ธัญญาหาร
อุดมสมบูรณ์จะเห็นได้ว่า ยิ่งฆ่า ยิ่งมาให้ฆ่า ไม่หมด

     เสือเป็นสัตว์ป่ากินคน มีคนไปกินเสือไหม ไม่มี
แต่เสือก็น้อยลงทุกวัน ส่วนเป็ดไก่คนกินกันมาก จึง
เกิดมากขึ้น แมลงก็เช่นเดียวกันกำจัดเท่าไรก็ไม่หมด
บริเวณที่อยู่อาศัยให้รักษาความสะอาด มด แมลงวัน
ก็จะน้อยลง เขามีกรรมร่วมกับเจ้า เขาต้องการอยู่รอด
จึงมารบกวนเจ้า เจ้าฆ่าเขา เขาฆ่าเจ้า เหมือนคนกิน
แพะ แพะตายไปเกิดเป็นคน คนตายไปเกิดเป็นแพะ
เวียนกันไม่จบสิ้น
 
     มีคำถามว่า หลังจากตั้งปณิธานกินเจตลอดชีวิต
แล้ว สัตว์เลี้ยงที่บ้านจะจัดการอย่างไร เจ้าก็คิดเสียว่า
เขาเกี่ยวกรรมกับเจ้ามา จงเลี้ยงดูเขาต่อไปจนกว่าจะ
ตายแล้วฝังเขาเสียให้เขาไปเกิดใหม่
 
     ทำบุญ หรือจัดเลี้ยงในวันเกิด อย่าได้เบียดเบียน
เดือดร้อนชีวิตสัตว์ การเกิดของเจ้ามิได้แสดงถึงความ
ยิ่งใหญ่อันใด กลับทำร้ายสัตว์มากมายให้ตายลง บน
บานศาลกล่าวเสร็จแล้วถวายหัวหมู ยังไม่ทันจะสร้าง
บุญกุศลกลับหาเรื่องให้ตัวเองซ้ำอีก ฟาดเคราะห์ไป
เปราะหนึ่ง ยังไม่ทันไรเกี่ยวกรรมเข้าไปอีกรายหนึ่ง
 
     ต่อไป อย่าได้ไปบนบานศาลกล่าวอย่างนี้อีก
งานศพพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ให้เลี้ยงอาหารเจเป็นดีที่
สุด งดการฆ่าสัตว์เป็นดีที่สุด จะได้ไม่เป็นบาปตามติด
ผู้ตายไป หากยังกินเจกันไม่พร้อมทั้งครอบครัวภายใน
สี่สิบเก้าวัน ให้กินเจทั้งหมดพร้อมกัน
 
     สามีภรรยาก็ควรแยกห้องกันสี่สิบเก้าวัน จะช่วย
 ลดหย่อนบาปเวรของผู้ตายได้ การไม่ฆ่า คือ เมตตา
 กรุณา จิตสำนึกนี้ทุกคนต่างมี ไม่ฆ่าเป็น เรื่องทำได้
ไม่ยาก แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ซิลำบากหน่อย เคยมีศิษย์
ต่อรองกับอาจารย์ว่า “พระอาจารย์ขอรับ ศิษย์ไปผ่า
ตัดมาเสียกำลังไปมาก ขออนุญาตกลับไปกินเนื้อสัตว์
ให้แข็งแรงเสียก่อนแล้วจะกลับมากินเจใหม่ คงไม่เป็น
ไรนะขอรับ”


     หากเจ้าคิดจะต่อรองก็แล้วแต่เจ้า อาจารย์บัง
คับเจ้าไม่ได้ หนี้ของใครใครก็ชดใช้กันเอง ไม่เกี่ยว
กับอาจารย์ จึงไม่ต้องต่อรองกับอาจารย์ ประสาทจิตใจ
ไม่ปกติ การฆ่าของเขามีโทษบาปเบากว่าคนทั่วไปด้วย
กุศลเจตนาจะช่วยพระพุทธอริยเจ้า การฆ่าของเขามี
โทษบาปเบากว่าคนทั่วไปเพื่อช่วยคนหมู่มาก เช่น สู้รบ
เพื่อชาติแม้โทษบาปจะเบากว่า แต่ไม่พ้นกฎแห่งกรรม


     ทำไมไม่ให้ฆ่าคน เพราะคนอยู่ใกล้กับอริยมรรค
ชาตินี้แม้จะมีวิบากทุกข์ยาก แต่หากได้สดับพุทธธรรม
แล้วบำเพ็ญจริงสุดชีวิตหมดหนี้เวรกรรมเมื่อไร ก็บรรลุ
ได้ทันที

     ฆ่าสัตว์อื่น ๆ มีโทษบาปเบากว่าฆ่าคน เพราะสัตว์
ยังห่างไกลอริยมรรค แต่เขาก็มีโอกาสเหมือนกันจึงไม่
ควรฆ่าอย่างยิ่ง หมูผูกใจเจ็บอยู่กับเลือดเนื้อของเขา
มาก จะไม่ยอมไปจากตัวจนกว่าเนื้อชิ้นสุดท้ายของเขา
จะถูกกลืนกินหมดไปให้สังวรณ์ไว้

     คนที่เจ็บป่วยประจำ ให้ทำบุญปล่อยชีวิตสัตว์
มาก ๆ นอกจากปล่อยสัตว์ที่เห็นได้ภายนอกแล้ว ยังจะ
ต้องปล่อยสัตว์ที่อยู่ภายในจิตใจของตนอีก กิเลสตัณหา
เหมือนสัตว์ร้ายที่สิงสู่อยู่ในใจใครกักเก็บไว้ ก็มีแต่วิตก
กลัดกลุ้มฯ จงปล่อยเขาออกไปให้หมด เพราะเขาจะ
พาเจ้าลงนรกไปด้วยเช่นกัน

     ค้าขายไม่ดี ยิ่งทำยิ่งขาดทุน หมุนเวียนขัดข้อง
ต้องทำบุญปล่อยสัตว์ ละเว้นการฆ่ากินเป็นสำคัญ
เพราะชาติก่อนเจ้าฆ่าเขาไว้มาก จึงต้องมีวิบากมาก
หน้าตาไม่มีราศี กิจการร้านรวงไม่เป็นที่เจริญตาเจริญ
ใจแก่ผู้พบเห็น เป็นเพราะเจ้าสร้างบุญสัมพันธ์กับใครๆ
ไว้น้อย ให้เร่งปล่อยสัตว์ เว้นการกินเนื้อสัตว์

     คนที่ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จะใจดำอำมหิต ฆ่าสัตว์
ชนิดใดเป็นประจำนาน ๆ เข้า หน้าตาของเขาก็จะละ
ม้ายสัตว์นั้น ความคิดอยากฆ่าจะเกิดขึ้นมาในใจบ่อย ๆ
 
     คนบาปหนาที่ฆ่าสัตว์ไว้ ก่อนตายจะถูกกรรมเวร
นั้นรุมหนักเหมือนหนี้สินประดัง ชักหน้าไม่ถึงหลัง
เหมือนใกล้วันปิดงบสิ้นปีของธนาคาร คนชอบฆ่าสัตว์
มักจะฝันร้าย เมื่อกลับใจมากินใหม่ ๆ ก็ยังฝันกินเป็ด
กินไก่เพราะเคยกินเขาเอาไว้มาก 

     ชาติก่อน ๆ ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไว้มาก ชาตินี้เกิดมา
จะอาภัพ จุกจิก ขี้ริ้ว ขาดมนุษยสัมพันธ์ ผู้คนรังเกียจ
ชิงชัง คนบาปหนาก่อนตายจะไม่สงบ บ้างเห็นยมทูต
มาลากคอ บ้างเห็นเจ้ากรรมนายเวร บ้างเห็นผี บ้างเห่า
หอนโอดโอยกรีดร้องเสียงเหมือนสัตว์ต่าง ๆ ซากศพจึง
น่าสะพรึงกลัว
 
     ผู้ละเว้นการฆ่า (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) คือ 
ผู้ให้อภัยทาน

อภัยทาน คือ ให้สรรพสัตว์พ้นจากความหวาด
ทุกข์หวั่นภัย ผู้ละเว้นการฆ่า จิตเมตตาจะเพิ่มพูน
ความกังวลหม่นหมองจะน้อยลง กายใจจะสุขสมบูรณ์
ปราศจากโรคภัย


     ผู้ละเว้นการฆ่า กิริยาวาจาจะอ่อนโยน ไม่แสดง
อารมณ์ร้าย ผีสางเทวดาจะปกปักรักษา จะพบแต่สิ่ง
ที่ดีมีผู้อุปถัมภ์ไม่ขาด ผู้ละเว้นการฆ่า จะนอนหลับ
สบายไม่ฝันน่ากลัว ไม่อึดอัดหรือเหมือนถูกกดทับ ละ
เว้นเนื้อสัตว์นานไปก็จะไม่ฝันกินเนื้อสัตว์อีก



     ผู้ละเว้นการฆ่า ชาติหน้าเกิดใหม่ได้เป็นคนร่ำรวย
สูงศักดิ์ ใจดี มีอิสระ ไม่พิพาทบาดหมางกับใคร ร่วมบุญ
สัมพันธ์กันไปทั่ว ผู้ถือศีลห้าได้บริสุทธิ์ อีกทั้งสร้าง
บุญกุศลเสริมส่ง จะได้ไปเกิดใน ชั้นพรหมโลก เพราะ
ไม่ได้ปลูกเมล็ดพันธุ์ของวิญญาณบาป ไว้ในกมลสัน
ดานอีกต่อไป



     ศีลห้าตรงกับคุณธรรมห้า ของศาสนาปราชญ์
พระศาสดาขงจื้อสอนไว้ว่า

ไม่ฆ่าเป็นเมตตากรุณา คือ เหยิน
ไม่ลักขโมยเป็นมโนธรรม คือ อี้
ไม่ผิดในกามเป็นจริยธรรม คือ หลี่
ไม่มุสาเป็นสัตยธรรม คือ ซิ่น
ไม่ดื่มสุราเป็นปัญญา คือ จื้อ

 
     มดแมลงแม้ตัวน้อยนิดก็ฆ่าไม่ได้ เจ้ากินเนื้อสัตว์
โดยอ้างว่าเขาเกิดมาเป็นอาหารของคน เสือก็อ้างได้ว่า
คนเกิดมาเป็นอาหารของเขา ยุงดูดเลือดของเจ้านิด

เดียวเจ้ายังตบเขาให้ตาย ใจเขาใจเราเจ้าคิดดู อย่าผลัด
เปลี่ยนเสื้อผ้าแสดงกิริยาไม่สุภาพหน้าหิ้งบูชาหรือโต๊ะ
บูชา


     ภาพพิมพ์พระเจ้า ขาดเก่าไม่ใช้ ให้ม้วนเก็บไว้
อย่าเผาปนไปกับขยะ หรือกระจายอยู่บนดินถูกผู้คน
เหยียบย่ำเท่ากับลบหลู่จะเป็นบาป


     สัตว์บ้านเลี้ยงไว้จนกว่าเขาจะตาย อย่าขายหรือ
ให้ใครเอาเขาไปทอดทิ้ง อดอยาก ทำร้ายทารุณ เมื่อเขา
ตายให้ฝัง ทองพระนามพระพุทธะ พระโพธิสัตว์
พระองค์ใดก็ได้ ขอพระองค์ได้โปรดช่วยนำวิญญาณ
ของเขาไปเกิดใหม่ให้ดีด้วย


     ทุกครั้งเมื่อเกิดการผิดพลาดทุศีล หากไม่มีที่บูชา
พระในบ้าน ให้จุดธูปสามดอกปักกลางแจ้งสำนึกผิด
และแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลแก่สัตว์นั้น ๆ บาปเวรก็จะ
เบาลง



     คนถือศีลกินเจ ต้องรอบคอบระวัง ก่อนจะซื้ออา
หารสำเร็จรูปต้องถามไถ่ให้แน่ใจ ถ้าซื้อผิดกินผิดให้จุด
ธูปบอกกล่าวขอขมาต่อชีวิตเขา สำนึกผิดต่อสิ่งศักดิ์
สิทธิ์สำนึกผิดต่อมโนธรรมสำนึกของตนเอง



     ขับรถชนสุนัข สุนัขถึงแก่ความตาย (เพราะเขาวิ่ง
ตัดหน้าออกมาให้ชนเอง) ถ้าผลกรรมนี้ของสุนัขนั้น
ยังไม่หมด ชาติหน้าเขาจะต้องเกิดเป็นสุนัขอีก ถ้าผล

กรรมนี้ของสุนัขนั้นจบสิ้นแล้ว ชาติหน้าเขาจะได้เกิด
กายเป็นคน ใช้เนื้อสัตว์ เซ่นไหว้ บูชา ภาวนา อธิษฐาน
ขอลาภขอผล แก้บน ด้วยการเล่นหยาบคาย เท่ากับให้
ร้ายตัวเอง



     ไม่ทำร้ายเข่นฆ่ากายสังขาร อีกทั้งไม่ทำร้ายจิต
วิญญาณเขา จึงต้องมีวาจาอ่อนโยน อนาทรต่อความ
ทุกข์ร้อนของผู้อื่นด้วย




คัดลอก จาก บำเพ็ญขัดเกลาพุทธจิต
  
    ~~ มีดคมได้เพราะหินลับที่ทู่ทื่อ  ไฟสว่างได้เพราะไม้ฟืนที่มืดอับ
                     ไข่มุกสูงค่า เกิดจากหอยมุกต่ำต้อย 
                      หยกงามเกิดจาก้อนหินน่าเกลียด ~~